รอบรั้วกันเกรา

  • Home
  • รอบรั้วกันเกรา
  • Node Flagship ม.นครพนม จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานหน่วย เฟส 3

Node Flagship ม.นครพนม จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานหน่วย เฟส 3

นายพัฒนะ พิมพ์แน่น 2024-03-04 00:29:04 1,044

Node Flagship ม.นครพนม จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานหน่วย เฟส 3

ระหว่างวันที่ 2-3 มีนาคม 2567 ดร.คณิณ เชื้อดวงผุย รองคณบดีคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาลัยวิทยาลัยนครพนม ผู้จัดการหน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship) มหาวิทยาลัยนครพนม นำคณะทำงานหน่วยฯ ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ภายในทีมให้สามารถทำงานร่วมกันได้ โดยมีคณะทำงานหน่วยฯ (พี่เลี้ยง) เข้าร่วมกิจกรรม ณ โรงแรมลังกาพาราไดซ์ อ.บ้านแพง จ.นครพนม

กิจกรรมมีการชี้แจงวัตถุประสงค์และภาพรวมการทำงานของโครงการ จาก ดร.คณิน เชื้อดวงผุย ผู้จัดการหน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship) มหาวิทยาลัยนครพนม กิจกรรมติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE จาก ดร.คณิน เชื้อดวงผุย ผู้จัดการหน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship) มหาวิทยาลัยนครพนม และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เบญจยามาศ พิลายนต์ รองผู้จัดการหน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship) มหาวิทยาลัยนครพนม

จากนั้นเปิดเวที “เรื่องเล่าจากสนาม” โดยการนำพี่เลี้ยง หรือบุคคลที่ทำงานร่วมกันมาตั้งแต่เฟสที่ 1 ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมองการทำงาน ปัญหา และอุปสรรค์ระหว่างการทำงานที่ผ่านมา แก่คณะทำงานหน่วยฯ (พี่เลี้ยง) จากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยวัฒน์ อินไชยา, อาจารย์จุฑาลักษณ์ แสนโท, นางปิยะดา ฟองแก้ว และนางสาวภาณุวรรณ ศรีชัย

ส่วนวันที่สอง มีการอบรมการใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล การติดตามและแบบรายงานของโครงการ และการบริหารโครงการและแผนการดำเนินงาน จาก ดร.คณิน เชื้อดวงผุย และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เบญจยามาศ พิลายนต์ ซึ่งระหว่างการอบรม ประชุม มีกิจกรรมสันทนาการสร้างความสัมพันธ์กับทีมงาน โดย ดร.อนุวัฒน์ พลทิพย์ นักวิชาการหน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship) มหาวิทยาลัยนครพนม ทำให้บรรยากาศการอบรมทั้ง 2 วัน เต็มไปด้วยความสนุกสนาน

ซึ่งการจัดกิจกรรมครั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ภายในทีมให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้กับพี่เลี้ยงเกี่ยวกับกระบวนการ วิธีการ ในการติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ตลอดจนให้พี่เลี้ยงเรียนรู้ ทำความเข้าใจ เครื่องมือการเก็บข้อมูลการจัดทำรายงานของการลงพื้นที่ โดยมีคณะทำงานหน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship) มหาวิทยาลัยนครพนม เข้าร่วมกว่า 20 คน

ภาพ/ข่าว : พัฒนะ พิมพ์แน่น

HOT LINK