รอบรั้วกันเกรา

  • Home
  • รอบรั้วกันเกรา
  • Node Flagship ม.นครพนม จัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ “พัฒนาข้อเสนอโครงการสร้างเสริมสุขผู้สูงอายุ จังหวัดนครพนม” ผ่านกลไกการทำงานของ พชอ. ในพื้นที่อำเภอปลาปาก

Node Flagship ม.นครพนม จัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ “พัฒนาข้อเสนอโครงการสร้างเสริมสุขผู้สูงอายุ จังหวัดนครพนม” ผ่านกลไกการทำงานของ พชอ. ในพื้นที่อำเภอปลาปาก

นายพัฒนะ พิมพ์แน่น 2024-02-21 23:22:32 270

Node Flagship ม.นครพนม จัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ “พัฒนาข้อเสนอโครงการสร้างเสริมสุขผู้สูงอายุ จังหวัดนครพนม” ผ่านกลไกการทำงานของ พชอ. ในพื้นที่อำเภอปลาปาก

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 หน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship) มหาวิทยาลัยนครพนม จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “พัฒนาข้อเสนอโครงการสร้างเสริมสุขผู้สูงอายุ จังหวัดนครพนม” พื้นที่คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอปลาปาก โดยมี ดร.คณิน เชื้อดวงผุย ผู้จัดการหน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship) มหาวิทยาลัยนครพนม กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม พร้อมชี้แจงสร้างความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ และแนวทางการสนับสนุนโครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ โรงพยาบาลปลาปาก อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม

ซึ่งกิจกรรม มีการบรรยายถึงบทบาทคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) กับการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ภายใต้ความร่วมมือกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักสร้างสรรค์โอกาส (สำนัก 6) จากนายสมชาย แสนลัง ผู้ช่วยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม ,การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพผู้สูงอายุเพื่อเตรียมพัฒนาข้อเสนอโครงการ ด้วยการแบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็น โจทย์ประเด็น “ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุในพื้นที่คืออะไร สาเหตุเกิดจากอะไร และผลกระทบ มีอะไรบ้าง” จำนวน 6 กลุ่ม ตามพื้นที่ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 บ้านนางาม ต.กุตาไก้ กลุ่มที่ 2 บ้านหนองแสง ต.นามะเขือ กลุ่มที่ 3 บ้านหนองฮี ต.หนองฮี กลุ่มที่ 4 บ้านโคกสว่าง ต.โคกสว่าง กลุ่มที่ 5 บ้านเทาน้อย ต.ปลาปาก และกลุ่มที่ 6 ตำบลโคกสูง จากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เบญจยามาศ พิลายนต์ รองผู้จัดการหน่วยจัดการฯ และนางปิยะดา ฟองแก้ว ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองกุง ตำบลหนองสังข์ อำเภอนาแก เป็นวิทยากร

จากนั้นในช่วงบ่าย เปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมในแต่ละกลุ่ม นำเสนอผลการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุแต่ละพื้นที่ของตนเอง ก่อนที่จะมีการแนะนำกรอบการเขียนพัฒนาข้อเสนอโครงการและแผนการดำเนินงาน จาก ดร.อนุวัฒน์ พลทิพย์ นักวิชาการหน่วยจัดการฯ มีนางจินตนา ภาวะดี หัวหน้าฝ่ายการพยาบาล และนายพรเพชร ทามนตรี นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปลาปาก ร่วมประชุม

ทั้งนี้ อำเภอปลาปากเป็นพื้นที่ที่มีสังคมผู้สูงอายุจำนวนมาก จึงเป็นพื้นที่เป้าหมายการดำเนินงานของหน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship) มหาวิทยาลัยนครพนม เพื่อนำข้อมูลจากการวิเคราะห์มาพัฒนาเป็นข้อเสนอโครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ผ่านกลไกการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ในลำดับต่อไป

ภาพ/ข่าว : พัฒนะ พิมพ์แน่น 

HOT LINK