Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การพัฒนาหลักสูตร รายวิชาการเลี้ยงไก่ไข่ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองบัวสร้างวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

[เปิดดู 209 ครั้ง]

สุมิตรา ประพันธ์ พจมาน ชำนาญกิจ และ ประยูร บุญใช้

  • บทคัดย่อ
  •               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตร รายวิชาการเลี้ยงไก่ไข่ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองบัวสร้างวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 2) หาประสิทธิภาพของหลักสูตร ตามเกณฑ์ 80/80 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระหว่างก่อนและหลังเรียน 4) ศึกษาทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียน และ 5) ศึกษาเจตคติของนักเรียนต่อการเรียนด้วยหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองบัวสร้างวิทยาคาร ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2555 จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการและความคิดเห็นในการจัดทำหลักสูตร แบบประเมินคุณภาพของหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะการปฏิบัติงาน แบบวัดเจตคติต่อการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที แบบ 2 กลุ่มไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรรายวิชาการเลี้ยงไก่ไข่ ที่พัฒนาขึ้นมีสาระการเรียนรู้ทั้งภาคความรู้ ความเข้าใจและทักษะปฏิบัติ ประกอบด้วยหลักการและเหตุผล จุดหมาย คุณลักษณะอันพึงประสงค์ คำอธิบายรายวิชา ผลการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ โครงสร้าง หน่วยการเรียนรู้การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แนวทางการจัดการเรียนรู้ สื่อและแหล่งเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล หลักสูตรได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) หลักสูตรรายวิชาการเลี้ยงไก่ไข่ ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.56/87.93สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 88.61 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 80 5) เจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยหลักสูตรรายวิชาการเลี้ยงไก่ไข่ อยู่ในระดับมาก
     

    คำสำคัญ : การพัฒนาหลักสูตร / รายวิชาการเลี้ยงไก่ไข่ / ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

  • Abstract
  •               The purposes of this study were: 1) to develop a course curriculum on ‘raising layer-chickens’ in the learning substance group of work, career and technology for Mathayom Suksa 1 students at Ban-Nongbuasang- Withayakan School under the Office of Sakon Nakhon Primary Education Service Area 1, 2) to examine efficiency of the curriculum based on the 80/80 criterion, 3) to compare students’ learning achievements between before and after learning, 4) to investigate students’ performance skill, and 5) to examine students’ attitude towards learning using the developed curriculum. The target group was 29 Mathayom Suksa 1 students at Ban- Nongbuasang-Withayakan School in the first semester of academic year 2012. The instruments used in this study were a questionnaire asking a need and opinion on curriculum development, a form for assessing both quality of curriculum and all the supplements to the curriculum, a test of learning achievement, a form for measuring the performance skill, and a form for measuring attitude towards learning. Statistics used to analyze data were percentage, mean, standard deviation and t-test of dependent samples. The findings were as follows: 1) The developed curriculum on raising layer-chickens which had substantial learning in both knowledge-understanding and performance skill consisted of rationale, aims, desirable qualities, course description, learning outcomes, learning substance, structure, learning credits, learning activity design, learning organization approach, media and sources of learning, and measurement and evaluation. The curriculum was appropriate at high level according to the experts’ assessment; 2) the developed course curriculum on raising layer-chickens had efficiency of 88.56/ 87.93 which was higher than the criterion set at 80/80; 3) students’ achievement after learning was significantly higher than that before learning at the .01 level; 4) students’ performance skill gained a mean score of 88.61 which was higher than the criterion set at 80%; and 5) students’ attitude towards learning using the course curriculum on raising layer-chickens was at high level.
     

    Keywords : Curriculum Development / Course in Raising Layer-Chickens / Learning Achievement

    Download Full Paper:
    การพัฒนาหลักสูตร รายวิชาการเลี้ยงไก่ไข่ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองบัวสร้างวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1