Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปอาหารจังหวัดนครนายก
Operational Management of Nakhon Nayok Province Food Processing Community Enterprise

[เปิดดู 60 ครั้ง]

ณัฐชรัฐ แพกุล วรรณดี สุทธินรากร และ ภัทรวรรธน์ จีรพัฒน์ธนธร

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการ ศึกษาสภาพการดำเนินงาน และทดลองปฏิบัติการสร้างมูลค่าเพิ่มและมูลค่าเชิงสร้างสรรค์ให้กับผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปอาหาร จังหวัดนครนายก โดยกลุ่มเป้าหมายในศึกษาข้อมูล คือ วิสาหกิจชุมชนการแปรรูปอาหารจังหวัดนครนายก ที่มีการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ชุมชน ในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 13 กลุ่ม เลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง แต่ละกลุ่มมีผู้ให้ข้อมูลคือ ประธาน 1 คน และสมาชิก 5 คน รวมทั้งสิ้น 78 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และเรียบเรียงเป็นเนื้อหาเชิงบรรยาย และกลุ่มเป้าหมายในการทดลองปฏิบัติการ คือ วิสาหกิจชุมชนไรซ์แคร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปอาหาร จังหวัดนครนายก พบว่า วิสาหกิจชุมชนทั้ง 13 กลุ่ม มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบทั้ง 8 ด้าน ประกอบด้วย ด้านสมาชิก/แรงงาน ด้านทรัพยากรการผลิต เทคโนโลยี และสถานที่ ด้านการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วม ด้านผู้นำ ด้านองค์ความรู้ ด้านการตลาดและการบัญชี  ด้านปฏิสัมพันธ์กับภายนอก และด้านข้อมูลข่าวสารและการประชาสัมพันธ์ 2) สภาพปัญหาและความต้องการของวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปอาหาร จังหวัดนครนายก พบว่า สภาพปัญหาที่สำคัญ คือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีจุดเด่นที่แตกต่างจากคู่แข่ง อีกทั้งการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ยังไม่มีอัตลักษณ์ และขาดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการสร้างมูลค่าเพิ่มและมูลค่าเชิงสร้างสรรค์ สำหรับความต้องการวิสาหกิจมีความต้องการในพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น และ 3) ผลการทดลองปฏิบัติการสร้างมูลค่าเพิ่มและมูลค่าเชิงสร้างสรรค์ ในด้านการสร้างมูลค่าเพิ่ม สมาชิกวิสาหกิจชุมชนได้นำข้าวไรซ์เบอรี่มาสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยมุ่งเน้นการสร้างผลิตภัณฑ์ให้มีความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์เดิม และเน้นให้มีความแตกต่างจากคู่แข่งขันรายอื่น โดยการนำข้าวไรซ์เบอรี่ มาพัฒนาเป็นตำรับอาหารอย่างหลากหลาย ส่วนด้านการสร้างมูลค่าเชิงสร้างสรรค์ ได้นำความเป็นมาของข้าวไรซ์เบอรี่ มานำเสนอเป็นเรื่องราวเพื่อสร้างความโดดเด่นของผลิตภัณฑ์ สำหรับประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัยนี้ได้ค้นพบการเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครนายก ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่ม และการสร้างมูลค่าเชิงสร้างสรรค์ อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นแนวทางการพัฒนาต่อยอดสินค้าของวิสาหกิจชุมชนอื่นได้

  • Abstract
  •       This research aimed to examine the operational management and operating condition; to operate the creations of value-added and creative value to products of the food processing community enterprises of Nakhon Nayok Province. The target group was included 13 food processing community enterprises of Nakhon Nayok Province, whose products registered under the Community Products in 2017. Purposive sampling was employed in selecting the target groups. The informants of each group consisted of one chairman and five members, totaling to 78 participants. The semi structured interview was used as a tool. This research analyzed the data by using content analysis method and compiled into descriptive content. The target group in the trial was the community enterprise RICE CARE. The results revealed that 1) the operational management of food processing community enterprises of Nakhon Nayok Province showed that all 13 groups of community enterprises performed good systematic operations in all eight aspects, including member/labor, resources, production, technology and location, management and engagement aspects, leadership, cognitive , marketing and accounting, interaction with the outsiders, and information and public relations; 2) the issues and needs of food processing community enterprises of Nakhon Nayok Province indicated that the critical issues were the lack of development of products to be distinctive from competitors. Furthermore, the development of packaging was low on uniqueness. In addition, there was a lack of product development knowledge based on value-added and creative value creation. Regarding the needs of the enterprises, there was a need to develop new products that are distinctive, and 3) the results regarding the practice to create value-added and creative value to the products were as follows: the members of the community enterprises added value to the riceberry, which focusing on creating it into a new version and unique from competitors by developing the product in several recipes . In addition, they created the creative value to the riceberry by representing a background’s story to make the product distinctive. The research findings highlight the discovery of the operational potential enhancement of community enterprises of Nakhon Nayok Province by creating value-added and creative value to the products. The research applications can be used as a guideline for further product development of other community enterprises.

    Download Full Paper: