Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การศึกษาผลการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ กลไกสร้างสรรค์พลังงานสะอาด และความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา
A Study of Learning Outcomes on Mechanic Creatively for Green Energy Learning Unit and Creative Thinking of Grade 8 Students Using STEM Education

[เปิดดู 68 ครั้ง]

เจนจิรา อ่อนทองหลาง วาสนา กีรติจำเริญ และ อิสรา พลนงค์

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ กลไกสร้างสรรค์พลังงานสะอาด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา และ เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 16 คน โรงเรียนบ้านสระสี่เหลี่ยม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม ดำเนินการ  โดยใช้เครื่องมือในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา จำนวน 3 แผน และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินผลการสร้างชิ้นงาน และแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบ Kolmogorov-Simonov test ผลที่ได้จากการวิจัย พบว่า 1) ผลการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ กลไกสร้างสรรค์พลังงานสะอาด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ได้แก่ 1.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 1.2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
    ที่ระดับ .05 1.3) ผลการสร้างชิ้นงาน อยู่ในระดับ ดีมาก และ 2) ความคิดสร้างสรรค์ หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  • Abstract
  •     The purposes of this research were to) study of learning outcomes, learning unit, and creative mechanism for for green energy of the grade 8 students, before and after using STEM education. Research samplings were 16 of grade 8 students from a classroom in Sasileam School in the academic year 2019. The group of samplings were recruited by cluster random sampling. Research tools were 3 STEM education lesson plans. Data was collected through achievement test, student’s tasks form, and creativity assessment test. This project analyzed the data by the use of percentage, mean, standard deviation, t-test and Kolmogorov-Smirnov test. Research findings suggested two important aspects: first,  learning outcomes on mechanic creatively for green energy learning unit of grade 8 students. Such finding can be supported by the followings: learning achievement was significantly higher than before at the .05 level; learning achievement was significantly higher than 70% criterion at the .05 level; tudent’s task score was very good and 2) creative thinking, after STEM class, was significantly higher than before at the .05 level.

    Download Full Paper: