Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านศิลปะเชิงสร้างสรรค์ผ้าด้นมือของเยาวชนและ ผู้สูงอายุในกลุ่มจังหวัดล้านนา
Learning Enhancement of Creative Handstitched Art for Youth and Elderlies in Lanna-Culturally Based Provinces

[เปิดดู 44 ครั้ง]

ชลธิชา จิรภัคพงค์ พระครูปริยัติวรากร อรอนงค์ วูวงศ์ เกรียงศักดิ์ ฟองคำ และ พระอนุสรณ์ กิตฺติวณฺโณ5

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ผลงานผ้าด้นมือ การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะผ้าด้นมือนำไปสู่การยกระดับรายได้สู่เศรษฐกิจชุมชนและถ่ายทอดผลงานด้านศิลปะเชิงสร้างสรรค์ผ้าด้นมือสู่เยาวชนและผู้สูงอายุ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ประกอบการ จำนวน 3 คน ปราชญ์ท้องถิ่น จำนวน 2 คน เยาวชนและผู้สูงอายุ จำนวน 60 คน รองประธานกลุ่ม ผู้นำชุมชน หอการค้าจังหวัดแพร่ ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวแทนการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานแพร่ ตัวแทนสำนักงานพัฒนาชุมชน ตัวแทนสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ ตัวแทนอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ ผู้รู้ด้านออกแบบ จำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 75 คน เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และชุดปฏิบัติการ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหาพิจารณาประเด็นหลักและแบ่งออกเป็นประเด็นย่อย โดยการเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ภาพรวมไปสู่การวิเคราะห์ประเด็นย่อยของกระบวนการวิเคราะห์ตามแนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานผ้าด้นมือในกลุ่มจังหวัดล้านนา ประกอบด้วยการออกแบบผลิตภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด การเรียนรู้ การสร้างเครือข่าย และกระบวนการถ่ายทอด 2) การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะผ้าด้นมือนำไปสู่การยกระดับรายได้สู่เศรษฐกิจชุมชน ควรให้ความสำคัญของการนำลวดลายดั้งเดิม ได้แก่ ลายสัตว์ ลายดอกไม้ มาผสมผสานกับแนวคิดศิลปะเชิงสร้างสรรค์มาพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้มีเอกลักษณ์ โดยนำทรัพยากรสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในชุมชนมาเป็นแรงบันดาลใจในการนำมาประยุกต์เพื่อออกแบบลวดลาย ได้แก่ ดอกยมหินซึ่งเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดแพร่  3) การถ่ายทอดผลงานด้านศิลปะเชิงสร้างสรรค์ผ้าด้นมือสู่เยาวชนและผู้สูงอายุ เป็นการปฏิบัติจริงเกี่ยวกับกระบวนการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ผ้าด้นมือ ส่งผลให้สามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีเอกลักษณ์สอดคล้องกับความต้องการผู้บริโภคนำไปสู่การยกระดับรายได้สู่เศรษฐกิจชุมชน และการสืบสานอาชีพของชุมชนต่อไป

  • Abstract
  •     This study explored to investigate handstitched art processes leading to economic enhancement of community and the processes of passing on handstitched skills to youth and elderlies in in Lanna-culturally based provinces. The 75 key informants were consisted of 3 traders, 2 local scholars, 60 youths and elderlies, vice president of quilt art group, community leaders, officers of Phrae Chamber of Commerce, representatives of Provincial Administrative Organization and Tourism Authority of Thailand (TAT), Phrae Office, officers of Provincial Community Development Office of Phrae and Phrae Provincial Cultural Office, representatives of Phrae Provincial Industry Office, and 10 experts of art design. The data were collected by using interview, focus group discussion and short course public training. Then, the data were analyzed by applying content analysis, based on dividing the contents into major and minor issues. This qualitative method usually begins from holistic content analysis, which creates a deeper understanding of the studied phenomenon. The results revealed as follows. 1) There were 6 processes of creating handstitched art: designing, developing, marketing, learning, building connection, and transmitting knowledge and skills. 2) Since creative handstitched art processes can enhance income of communities in Lanna-culturally based provinces, it should place an importance on integrating original fabric patterns, considered local identity, such as animals and flowers into creative art to increase economic value of products. Most importantly, local resources motivated people’s creativity in terms of pattern design, especially, Chittagong-wood’s flower, which is the provincial flower and tree of Phrae province. 3) Transmitting creative handstitched artworks were considerably practical, in terms of its processes. Therefore, the products were unique and reached customers’ needs, leading to the economic enhancement and continuing community’ s sustainable self-reliant.

    Download Full Paper: