Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การวิเคราะห์สภาวะหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรในเขตภาคใต้ประเทศไทย

[เปิดดู 45 ครั้ง]

สวรรณ วิจิตรสุข และ วิจิตต์ศรี สงวนวงศ์

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะหนี้สินสมาชิกสหกรณ์การเกษตรในเขตภาคใต้ประเทศไทยและปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อการก่อหนี้ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรในเขตภาคใต้ประเทศไทย วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ สมาชิกสหกรณ์การเกษตรในเขตภาคใต้ 14 จังหวัด จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi–stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่า IOC เท่ากับ 0.91 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกเชิงอันดับ ผลการวิจัยพบว่า สมาชิกสหกรณ์การเกษตรในเขตภาคใต้ ร้อยละ 100.0 เป็นหนี้สหกรณ์การเกษตร โดยร้อยละ 76.0 เป็นหนี้สหกรณ์ประเภทเงินกู้สามัญ รองลงมาร้อยละ 21.8 เป็นหนี้สหกรณ์ประเภทเงินกู้พิเศษ และร้อยละ 15.0 เป็นหนี้สหกรณ์ประเภทเงินกู้ฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 56.7 เป็นหนี้กับสถาบันการเงินอื่น และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 32.0 เป็นหนี้นอกระบบ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการก่อหนี้ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรในเขตภาคใต้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ และสถานภาพสมรส 2) ปัจจัยการกู้ยืมด้านค่านิยม/ทัศนคติ ได้แก่ การรู้จักบริหารเงิน/การวางแผนจัดการการเงิน(รับ-จ่าย) ทำให้การก่อหนี้ลดลง 3) ปัจจัยการกู้ยืมด้านความจำเป็นในการบริโภค/อุปโภค ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล/โรคประจำตัว และความต้องการปัจจัยสี่ (อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค) ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย คือสมาชิกสหกรณ์การเกษตรในเขตภาคใต้สามารถนำผลการศึกษาไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนด้านการเงิน และสหกรณ์การเกษตรในเขตภาคใต้สามารถนำผลการศึกษาไปกำหนดนโยบายการให้สินเชื่อแก่สมาชิกสหกรณ์การเกษตรในเขตภาคใต้ของประเทศไทย

  • Abstract
  •     The purposes of this study were to investigate and explore the debt and the factors that are related to the debt of agricultural cooperative’s members in the southern Thailand. Research methodology was survey research. The population and sample used in the research were 400 members of agricultural cooperatives in the southern region of 14 provinces by multi–stage samplings. The research instruments were included 5-rating scale structured questionnaire which passed the quality inspection by experts with IOC value of 0.91, and the reliability test resulted the alpha value of 0.914. Statistical analysis using in this research were frequency, percentage, mean, standard deviation, and ordered logistic regression analysis. The findings revealed as follows: 100.0% of members of agricultural cooperatives in the southern region are indebted to agricultural cooperatives, 76.0% are indebted to ordinary loan cooperatives. The statistical data also reported that  21.8% owed to cooperatives in special loans and 15.0% owed to emergency loans. 56.7% of the sample were owed to other financial institutions. There are also  32.0% of the samplings were in informal debt. The factors that relating to the debt of agricultural cooperative’s members in the southern region of Thailand included: 1) the personal factors included age and marital status 2) the factor of values like a financial management and 3) the factors of consume were medical expenses and humans’ four basic needs (food, housing, clothing and medicine). The research contributions were 1) the agricultural cooperative’s members in the southern region can use the results of the study as a guideline for financial planning. Furthermore,  agricultural cooperatives in the southern region can use the results of the study to establish credit policies for agricultural cooperative’s members in the southern Thailand.

    Download Full Paper: