Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การศึกษาเปรียบเทียบคุณค่าอันโดดเด่นเป็นสากลของพระธาตุพนมสู่การเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม
A Comparative Study of Outstanding Universal Value (OUV) for Phra That Phanom towards World Heritage on Cultural Criteria

[เปิดดู 48 ครั้ง]

ยุภาพร ไชยแสน และ ธราวุฒิ บุญเหลือ

  • บทคัดย่อ
  •         การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณค่าอันโดดเด่นเป็นสากลของพระธาตุพนม และศึกษาเปรียบเทียบคุณค่าอันโดดเด่นเป็นสากลขององค์พระธาตุพนม โดยเสนอแนะแนวทางด้านการบริหารจัดการพื้นที่ วิธีดำเนินการวิจัย ประกอบไปด้วย การศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมและการบริหารจัดการพื้นที่ ร่วมกับการลงสำรวจพื้นที่ การสังเกตในพื้นที่แบบมีส่วนร่วม และเอกสารฉบับสมบูรณ์ (Nomination File) ร่วมกับแบบสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้เชี่ยวชาญ 8 ท่าน และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง รวมทั้งหมด 6 แหล่ง ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาคุณค่าอันโดดเด่นเป็นสากล ประกอบไปด้วย 3 เกณฑ์ คือ เกณฑ์ที่ 1 การเป็นศิลปะผสมผสานและพัฒนามาเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่มีความโดดเด่นเฉพาะ เกณฑ์ที่ 2 รูปแบบสถาปัตยกรรมมีอิทธิพลต่อการเป็นต้นแบบพระธาตุเจดีย์ที่เป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเกณฑ์ที่ 6 มีการสืบทอดวัฒนธรรมและประเพณีมีการเชื่อมโยงกับการบูชาพระอุรังคธาตุ การศึกษาเปรียบเทียบ พบว่า แหล่งที่สามารถใช้เป็นแนวทางในการขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมมากที่สุด คือ วัดมหาโพธิ์ (พุทธคยา) และกลุ่มวัดบุโรพุทโธ การเสนอแนะแนวทางด้านการบริหารจัดการพื้นที่พบว่า แบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ การวางแผนและการดำเนินงานอนุรักษ์บริเวณพื้นที่ เสนอแนะแนวทางด้านการบริหารจัดการพื้นที่ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน และมุ่งเน้นในระดับพื้นที่ คือ วัดและชุมชนเป็นหลัก เนื่องจากเป็นเจ้าของพื้นที่ และหน่วยงานราชการระดับพื้นที่และส่วนกลาง จำเป็นต้องช่วยสนับสนุนการบริหารจัดการให้มีพื้นที่ร่วมกันจะทำให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

  • Abstract
  •     The research aims to study and compare the Outstanding Universal Value (OUV) of Phra That Phanom. The second objective offers a recommendation on urban management in the area. Research Methodology applied relevant concepts and theories, conducted surveyed and observation, in-depth interviews with 8 experts, participant observation with the local people, and the collections of nomination files. The samplings were recruited from sixsources including (1) Statue of Liberty (2) Buddhist Monuments at Sanchi (3) Cologne Cathedral (4) Borobudur Temple Compounds (5) Ancient Building Complex in the Wudang Mountains and (6) Mahabodhi Temple Complex at Bodh Gaya. The research findings suggest that one can understand the outstanding universal values by considering the three criteria consisting of: Criteria 1, becoming a mixed art and then developing into a unique architectural style. Criterion 2: Architectural style influencing the modeling of Phra That Phanom as showing the unique identity in the Northeast and the 6 criterion is a cultural inheritance. Traditions are linked with the worship of Urangkathat. Based on the comparative study, this research paper suggests that the most outstanding places that could be used as a guideline for the registration as the World Cultural Heritage were Wat Maha Pho (Bodhgaya) and the Borobudur Temple. This research suggests two primary guidelines for the area management including planning and operating as for preserving the cultural heritage area. The finding of this research also highlights the area management through participation with all stakeholders, as well as the engagements of communities and temples the area’ owners, and the local level of government representatives. This research thus emphasizes that all stakeholders should collaborate and work together as for the sustainable development in the cultural heritage area.

    Download Full Paper: