Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การศึกษาผังชุมชนและสถาปัตยกรรมของเมืองขลุง จังหวัดจันทบุรี
A Study of Town Planning and Architectural Styles in the Khlung Town, Chanthaburi

[เปิดดู 44 ครั้ง]

นราธิป ทับทัน

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวางผังชุมชนและรูปแบบสถาปัตยกรรมของกลุ่มชนต่างๆ ในเขตเทศบาลเมืองขลุง พร้อมกับระบุเอกลักษณ์และคุณค่าทางสถาปัตยกรรมตามแนวทางของกฎบัตรบูรา โดยใช้อาคารพักอาศัย ศาสนสถาน และกายภาพของย่านชุมชน เป็นประชากรศึกษา เก็บข้อมูลด้วยวิธีการบันทึกกายภาพ สัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม เทียบเคียงกับแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ วิเคราะห์ผังชุมชนและรูปแบบอาคารด้วยวิธีสัณฐานวิทยาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า เมืองขลุงมีลักษณะเป็นชุมชนแฝด ประกอบด้วย 1) ย่านตลาดของชาวจีนที่เชื่อมโยงกับสถานที่ราชการและศาสนสถานของชาวไทย และ 2) ชุมชนชาวประมงของชาวญวนคริสตัง ชาวไทยมักอยู่อาศัยในเรือนยกใต้ถุนซึ่งกระจายอยู่ตามสวน ชาวจีนมักจะอยู่ห้องแถวหรือตึกแถวในย่านตลาด ชาวญวนมักจะอยู่เรือนยกพื้นอยู่บริเวณที่ลุ่มริมคลอง ศาสนสถานของชาวไทยมีลักษณะร่วมกันกับวัฒนธรรมกระแสหลักของรัฐชาติและสื่อสารแนวคิดทางการเมืองบางประการ ส่วนศาสนสถานของชาวจีนและญวนสามารถธำรงตัวตนทางวัฒนธรรมเอาไว้ ควบคู่กับการใช้ลักษณะไทยบางประการเข้ามาผสมผสานเพื่อแสดงความกลมกลืนกับสังคมบริบทใหญ่ สรุปว่า ผังชุมชนและสถาปัตยกรรมดั้งเดิมในเมืองขลุงได้แสดงร่องรอยการตั้งถิ่นฐานและเอกลักษณ์ของประชากรกลุ่มต่างๆ ซึ่งมีการปรับตัวภายใต้บทบาท สถานภาพทางสังคม และพัฒนาการของบ้านเมือง ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นรูปแบบผังชุมชนที่พัฒนามาจากการตั้งถิ่นฐาน งานสถาปัตยกรรมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและมีพลวัต ซึ่งสามารถใช้ยืนยันคุณค่าแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของพื้นที่ศึกษา และเป็นต้นทุนเชื่อมโยงสู่การจัดการมรดกทางวัฒนธรรมและพัฒนาพื้นที่ตามแนวทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ต่อไป

  • Abstract
  •     This research aims to study town planing and architectural styles of various ethnic groups in the Khlung municipality. This research also identifies the identity and architectural values in accordance with the Burra Charter guidelines. The research population included residential buildings, religious places, and the physicality of the community. The data collection applied physical recordings, interviews, and group discussions, as well as  comparing the collected data with secondary sources. In addition, the community plan and building style were analyzed using morphometric analysis. The results of the research showed that the  Khlung town’scharacter can be considered as a twin city because of the following: (1) the Chinese market district that is associated with government offices and Thai religious places and (2) the fishing community of the Vietnamese Catholics. Moreover, the findings also suggest that that Thai people live in stilt houses (mostly seen around the park) dotted in gardens, whereas the Chinese live in shophouses in the market district. As for the Vietnamese, they live in stilt houses, which are not elevated above from the lowland area along the canal. The characteristics of Thai religious places are shared the common characteristics with the mainstream culture of the nation. While Chinese and Vietnamese religious places, however, can maintain their cultural identities along with the use of certain Thai characteristics to be in harmony with the larger societal context. It concluded that the community plan and traditional architecture of the Khlung town show some traces of settlement and the identities of various ethnic groups, which have been adapted under the roles, social status, and the development of the country. The results of this research indicate that the community plan has been developed from the settlement, as well as multi-cultural and dynamic architectures. This finding can be applied to confirm the value of cultural heritage sites of the study area. The research finding can be used as a capital to to the cultural heritage management and area development based on the Creative Economy concept. 

    Download Full Paper: