Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การพัฒนาคลังข้อมูลดิจิทัลมรดกทางวัฒนธรรมจังหวัดลำพูนเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
Development of the Lamphun Digital Cultural Heritage Archive to Promote the Creative Economy

[เปิดดู 41 ครั้ง]

ณัฐนนท์ จิรกิจนิมิต และ ศาสตรา เหล่าอรรคะ

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาคลังข้อมูลดิจิทัลมรดกทางวัฒนธรรมจังหวัดลำพูนเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากการรวบรวมข้อมูล 3 แหล่ง ได้แก่ แหล่งข้อมูลเอกสาร แหล่งข้อมูลภาคสนาม ใช้การสังเกตและการสัมภาษณ์ตามแบบบันทึกข้อมูลและแบบสัมภาษณ์ และแหล่งข้อมูลบุคคล ใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสนทนากลุ่มกับผู้ให้ข้อมูล จำนวน 52 คน นำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหา แล้วสรุปเป็นแนวทางในการพัฒนาข้อมูลให้เป็นคลังข้อมูลดิจิทัลเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แล้วนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรมจังหวัดลำพูนที่สำรวจพบในพิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน วัด โรงเรียน และสถานที่จัดแสดงส่วนบุคคล จำนวน 30 แห่ง ได้มีการรวบรวมและนำเสนอไว้ในรูปแบบการจัดแสดงเป็นส่วนใหญ่ มีเป็นส่วนน้อยมากที่จัดทำในรูปแบบดิจิทัล จึงพัฒนาข้อมูลในด้านเนื้อหา ภาษา เสียง ภาพ ภาพ 360 องศา หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และวิดีทัศน์ ตามแนวทางที่ได้จากการจัดสัมมนาผู้ให้ข้อมูลสำคัญ แล้วจัดทำเป็นคลังข้อมูลดิจิทัลที่มีระบบหลังบ้านทำหน้าที่ในการควบคุม การพัฒนา และการใช้ประโยชน์คลังข้อมูล ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการที่จัดตั้งบุคคลจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับมรดกทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของจังหวัดลำพูน เป็นคลังข้อมูลดิจิทัลที่ใช้คลาวด์เซิร์ฟเวอร์ จัดเก็บ-จัดส่งข้อมูล ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้ทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รองรับการใช้งานในแทบทุกอุปกรณ์และเกือบทุกพื้นที่ จึงใช้ในการส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเยี่ยมชมโบราณสถานและโบราณวัตถุ และใช้ในการจูงใจให้ซื้อหาสินค้าและบริการที่แสดงถึงคุณค่าของประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน จึงเป็นนวัตกรรมในการพัฒนาจังหวัดลำพูนตามยุทธศาสตร์เมืองหัตถนวัตกรรมสร้างสรรค์ และ ยุทธศาสตร์เมืองจุดหมายปลายทางแห่งการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์วัฒนธรรม

  • Abstract
  •     The objective of the research is to develop the digital archive of cultural heritage and to promote the creative economy. This qualitative research collected some data which were derived from three sources: documentary research; fieldwork conduction with observations and interviews; and personal information relying on 52 in-depth interviews and focus-group discussions. The results of the study suggest that the data of cultural heritage that were collected in 30 places, such as museums, temples, schools, archaeological sites, and private collections. Very few, however, that cultural heritage information are organized digitally. Based on suggestions of the arranged seminar, the researcher has developed content, language, sound, photos, e-books, and videos with a backup system for controlling, development, and application under the supervision of a committee formed from various sections. It is a digital warehouse usingthe cloud server to store, transmit, and access data through the Internet system. It can be used on almost all devices and all areas. It is used in promoting tourism activities and induces the purchase of products and services that show the values of tradition, arts, culture, and local wisdom of Lumphun Province. It can be  understood asan innovation in the development of the Province according to being the City of Handicraft Strategy leading to the goal of experiential tourism in Lumphun Province.

    Download Full Paper: