Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

กระบวนการเรียนรู้ในการผลิตสื่อทางวัฒนธรรม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดมหาสารคาม
Learning Process in Cultural Media Production by Participation of Maha Sarakham Provincial Community

[เปิดดู 50 ครั้ง]

พนัส โพธิบัติ

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา แนวทางในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในการผลิตสื่อ และพัฒนาและผลิตสื่อทางวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดมหาสารคาม แหล่งข้อมูลในการวิจัย ซึ่งได้แก่แหล่งข้อมูลบุคคล คือ ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และประชาชนอาศัยอยู่ที่บ้านหม้อ ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 40 คน ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง พื้นที่ในการวิจัย ได้แก่ บ้านหม้อ ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ข้อมูลจากภาคสนาม โดยการสำรวจ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต และการสนทนากลุ่ม ศึกษากระบวนการเรียนรู้ในการผลิตสื่อทางวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบการสนทนากลุ่ม สรุปและนำเสนอผลการวิจัยโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน ปัญหาของกระบวนการเรียนรู้ในการผลิตสื่อทางวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งปัจจุบันชุมชนบ้านหม้อนั้นได้มีการปั้นหม้อมากขึ้นด้วยการรับคำสั่งซื้อจากพื้นที่ต่างๆ ที่ได้สั่งเข้ามาเพื่อให้กลุ่มปั้นหม้อบ้านหม้อได้ผลิตตามรายการสั่งซื้อ แต่เนื่องด้วยปัจจุบันนั้นธุรกิจชุมชนนั้นยังไม่สามารถที่จะแข่งขันกับธุรกิจที่เกิดขึ้นมาใหม่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพจึงมีความจำเป็นจะต้องแก้ปัญหาในการสร้างช่องทางประชาสัมพันธ์ให้กับชุมชนโดยให้ชุมชนได้ร่วมเรียนรู้กระบวนการจัดทำสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์อาชีพของตนเองนั้น 2) ผู้วิจัยได้ร่วมเก็บข้อมูลในบริบทต่างๆ ของชุมชนบ้านหม้อ    ในด้านการผลิตสื่อต่างๆ ให้กับชุมชนตามความต้องการของชุมชน ได้แก่ สื่อวีดิทัศน์ ภาพถ่ายเพื่อแนะนำผลิตภัณฑ์ลงใน Facebook การขายสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่น Shopee ต่อมาได้พัฒนาและผลิตสื่อทางวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนได้จัดทำสื่อทั้งหมดนี้ให้มีในชุมชนและ 3) ได้พัฒนาสื่อทางวัฒนธรรมให้ชุมชน โดยการให้ชุมชนร่วมเรียนรู้และได้ทดลองลงมือจัดทำสื่อด้วยตัวเอง โดยผู้วิจัยได้ให้องค์ความรู้ในด้านการจัดทำสื่อสมัยใหม่ให้กับสมาชิกในชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถนำความรู้และสื่อทางวัฒนธรรมของชุมชนนี้ไปเผยแพร่และสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนได้อย่างยั่งยืนต่อไป

  • Abstract
  •     This qualitative research aims to examine current conditions, problems and development’s direction for the cultural media production by communities’ participations in Mahasarakham Province. Sources of information are included community leaders, philosophers, villagers and people living at Ban Mo, Khwao Subdistrict and Mueang District. The Research data collected from 40 purposively samplings of informants, namely community leaders, village wisemen and people who lived at Ban Mo, Tambon Khwao, Ampphoe Muang, Maha Sarakham Province. The research methodologies apply documents and fieldwork using a survey, structured – in depth interviewer, participant observations, and focus group discussions. The research tools are included participation sheets, structured interview guide, and focus-group discussions. The results showed that 1) there are problems of cultural media’ production learning process in the of by the community’s engagement in Mahasarakham Province. At present,   Ban Mo community has increased number of pot’s production The community will produce pots by customers’ demands from various areas. However, the community business cannot be able to compete with the new generation of business agencies. Therefore, the community seeks for a solution by creating public relations channels for promoting the communities’ products. The community should learn about the process of creating media to promote their own career groups. 2) The researchers have collected the data in various contexts of community’s media productive activities. By this means, the research team intend to introduce and educate the Ban Mo community’s members in regards to production of various techniques of media production including visual media, photos, basic introduction of social media marketing by posting products on Facebook, selling products via the website Shopee. Next step, the research team aims to develop and produce cultural media by community participation. All of this media has been made available to the community and 3) This project also developed cultural media by allowing the community to learn, practice and explore by themselves. The researcher service useful academic knowledge in developing contemporary media for the community. The effective outcome of this project occurs when the community can apply knowledge to develop and create their own cultural media for advertising products. The community members can also share knowledge of producing contemporary media for increasing the their income. 

    Download Full Paper: