Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

เศรษฐกิจการเมืองของการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นในประเทศจีน
The Political Economy of Anti-Corruption in China

[เปิดดู 52 ครั้ง]

รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเศรษฐกิจการเมืองของการต่อต้านการคอร์รัปชั่นในประเทศจีน นับตั้งแต่ช่วงเวลาที่มีนโยบายเปิดประเทศ และเปิดรับระบบตลาดเสรี ที่มีส่วนสำคัญต่อการเพิ่มขึ้นของจำนวนการทุจริตคอร์รัปชั่นในสังคมจีน และศึกษายุทธศาสตร์และมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นในช่วงตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 จนกระทั่งถึงช่วงเวลาปัจจุบัน วิธีการดำเนินการวิจัย งานชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแนวพรรณาเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการวิจัยเชิงเอกสารเฉพาะกรณีการคอร์รัปชั่นในประเทศจีน ใช้หลักการสามเส้าในการตรวจสอบความถูกต้อง และวิเคราะห์ผ่านกรอบการวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง ภายใต้ฐานของวิธีวิทยาแบบการวิเคราะห์และตีความผ่านบริบททางสังคม ผลจากการวิจัยพบว่า 1) นโยบายเปิดประเทศและระบบตลาดเสรีตั้งแต่สมัยเติ้ง เสี่ยวผิง เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้จำนวนการทุจริตคอร์รัปชั่นเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะความสัมพันธ์แบบทุนนิยมพวกพ้อง ได้ฉุดรั้งการเติบโตของเศรษฐกิจและส่งผลกระทบต่อความชอบธรรมทางการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน 2) ยุทธศาสตร์และมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีทั้งการใช้กลไกเชิงสถาบันและกลไกเชิงกฎหมาย แต่รูปแบบและจำนวนของการทุจริตคอร์รัปชั่นกลับเพิ่มขึ้น ความเข้มข้นของมาตรการจึงเพิ่มมากขึ้นตาม ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัยครั้งนี้ คือ ช่วยสร้างความเข้าใจต่อโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองของการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นในประเทศจีน เพื่อนำมาเป็นบทเรียนในการทำความเข้าใจบริบทของประเทศไทย

  • Abstract
  •      The purposes of this research were to study the political economy of anti-corruption in China since the open-door and free trade policy that affected the increasing of number of corruptions in China, and to study anti-corruption strategies and measures from late 20th century until the present. This qualitative research collected the data by documentary research focusing on the issue of corruption in China. Triangulation has been used as research validation with the analytical application of the political economy framework. The research findings suggested that 1) China’s free market policy since Deng Xiaoping was the main cause of the increasing number of corruptions, especially the capitalist fraternal  relationship that resulted to the discontinuity of economic development and the disempowerment of Communist Party’s legitimacy. 2) The anti-corruption strategies and measures of the Chinese Communist Party were both institutional and legal mechanisms. As such, however, patterns and number of corruptions were still increasing. The strict enforcement of ani0correuption strategic measures were therefore escalated.  The research’s contribution can provide a better understanding of the political economy structure of anti-corruption in China and can be applied as an example lesson to understanding the current occurrence of corruption in Thailand. 

    Download Full Paper: