Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

ความคิดเห็นและความคาดหวังของผู้ปกครองต่อการเรียนดนตรีในโรงเรียนเอกชนนอกระบบ กรณีศึกษา สถาบันดนตรีเคพีเอ็น แจส เออร์เบิร์น ศรีนครินทร์

[เปิดดู 48 ครั้ง]

พรรณพัชร กฤษณ์เพ็ชร์ ดนีญา อุทัยสุข และสยา ทันตะเวช

  • บทคัดย่อ
  •       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ปกครองเกี่ยวกับบทบาทของครอบครัวและการฝึกซ้อมดนตรีและความคาดหวังในการเรียนดนตรีที่โรงเรียนเอกชนนอกระบบ โดยเปรียบเทียบระหว่างผู้ปกครองที่เล่นดนตรีและผู้ปกครองที่ไม่เล่นดนตรี งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เลือกศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองที่สถาบันดนตรีเคพีเอ็น แจส เออเบิร์น ศรีนครินทร์ จำนวน 182 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยาย โดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลวิจัยพบว่า ผู้ปกครองทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นตรงกันว่าครอบครัวและ               การฝึกซ้อมดนตรีมีผลอย่างมากที่ทำให้การเรียนดนตรีประสบผลสำเร็จ ในด้านความคาดหวังต่อการเรียนดนตรีผู้ปกครองทั้งสองกลุ่มมีลำดับความคาดหวังในทิศทางเดียวกันคือ 1) ด้านอารมณ์ 2) ด้านสติปัญญา 3) ด้านสังคม และ 4) ด้านทักษะดนตรี ผู้ปกครองกลุ่มที่เล่นดนตรีมีระดับความคาดหวังตามลำดับ คือ 1)  = 4.66, S.D. = 0.47 2)  = 4.62, S.D. = 0.58  3)  = 4.42, S.D. = 0.53 และ 4)  = 3.36, S.D. = 0.75 ผู้ปกครองกลุ่มที่ไม่เล่นดนตรีมีระดับความคาดหวังตามลำดับ คือ 1)  = 4.54, S.D. = 0.59 2)  = 4.42, S.D. = 0.63 3)  = 4.22, S.D. = 0.60 และ 4)  = 3.30, S.D. = 0.73  โดยผู้ปกครองกลุ่มที่เล่นดนตรีมีความคาดหวังที่สูงกว่าผู้ปกครองกลุ่มที่ไม่เล่นดนตรีในด้านสังคมและด้านสติปัญญาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงกล่าวได้ว่าผู้ปกครองทั้งสองกลุ่มคาดหวังผลลัพธ์ของการเรียนดนตรีเพื่อช่วยพัฒนาอารมณ์ สติปัญญาและสังคมของผู้เรียน มากกว่าคาดหวังให้มีทักษะดนตรีระดับสูงหรือคาดหวังให้ประกอบวิชาชีพทางดนตรีเป็นหลัก ดังนั้นข้อมูลนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่โรงเรียนและครูดนตรีควรทำความเข้าใจเพื่อออกแบบการเรียนการสอนรวมทั้งวางแผนกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้การเรียนดนตรีเป็นไปอย่างมีเป้าหมายและราบรื่น ได้คุณภาพและตรงตามความคาดหวัง

  • Abstract
  •      This research aimed to study parents’ opinions on family role and music practice and parents’ expectation for music lesson at a non-formal private music school. This research study compared the results between two groups which were parents with music playing experiences and parents without music playing experiences. The research conducted at KPN Music Academy JAS Urban, Srinakarin branch. The sampling size is 182 students. The research methodology was based on survey with rating scale answers. The statistics used were descriptive statistics comprised of mean, percentage, standard deviation, and t-test. In aspect of opinions, the results indicated that both groups’ opinions and expectations were indifferent. Parents acknowledged that family support and effective music practice are important to make learning music successful. In reflecting upon parents’ expectation, the research showed that parents expected their child to gain emotional, cognitive, and social skills development rather than professional musician kills. For the parents, who have musical playing experiences were rated by the expectation level as the following 1) = 4.66, S.D. = 0.47 2) = 4.62, S.D. = 0.58 3) = 4.42, S.D. = 0.53 and 4) = 3.36, S.D. = 0.75, while parents without music playing experiences rated expectation level 1) = 4.54, S.D. = 0.59 2) = 4.42, S.D. = 0.63 3) = 4.22, S.D. = 0.60 and 4) = 3.30, S.D. = 0.73. Therefore, the school should understand what parents need while also preparing lesson plan, events, and activities as following to  the primary goal and expectation in students’ musical training achievement. 

    Download Full Paper: