Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเปียโนสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
The Development of Piano Teaching and Learning Management Model of Piano for the First Year Undergraduate Students of Universities in the Northeast of Thailand

[เปิดดู 49 ครั้ง]

เอกชัย ธีรภัคสิริ พงษ์พิทยา สัพโส และ พรพรรณ แก่นอำพรพันธ์

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพของการจัดการเรียนการสอนเปียโน พัฒนารูปแบบการจัดการสอนเปียโน และพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอนเปียโน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ของสถาบันอุดมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย อาจารย์ผู้สอนเปียโน จำนวน 12 คน และนักศึกษาวิชาเอกเปียโน จำนวน 10 คน ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 12 สถาบัน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามแสดงความคิดเห็น ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพของการจัดการเรียนการสอนเปียโน พบว่า  พื้นฐานที่แตกต่างกันของนักศึกษา ความพร้อมในการเรียน พัฒนาการด้านการเรียนปฏิบัติเปียโนที่ต่างกัน ทำให้การจัดการเรียนการสอนที่วางแผนไว้แต่ละภาคเรียน มีความจำเป็นต้องมีความยืดหยุ่น เพื่อให้เหมาะสมกับพื้นฐานของนักศึกษาที่ต่างกัน 2) การพัฒนารูปแบบการจัดการสอนเปียโน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านหลักการของรูปแบบการสอน  มีค่าความเหมาะสมตามลำดับดังนี้ (M = 4.75, S.D. = 0.12) ด้านเอกสารประกอบการสอน (M = 4.71, S.D. = 0.14) ด้านความจำเป็นของรูปแบบการสอน (M = 4.60 , S.D. = 0.15) ด้านโครงสร้างของรูปแบบการสอน (M = 4.58, S.D. = 0.11) ด้านสื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม (M = 4.56 , S.D. = 0.14) และด้านจุดมุ่งหมายของรูปแบบ การสอน (M = 4.55 , S.D. = 0.26) และ 3) การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอนเปียโน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเปียโน ของสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียนมีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียน 

     

  • Abstract
  •       The objectives of this research were 1) to investigate conditions of Piano teaching management for the first-year undergraduate students of the Northeastern region’s universities of Thailand 2) to develop a Piano teaching model for the students and 3) to develop the students’ Piano’s academic skills. Group of samplings were included 12 piano teachers and ten piano students of the 12 universities in the Northeast of Thailand. Data collecting tools were comprised of interviewed forms, questionnaires and piano teaching model. The results suggest that: 1) the conditions of Piano teaching management, the problems were showed that the students had different basic skill levels, readiness for learning and varying development of Piano skills. Thus lesson plans for each semester had to be flexible to suit the different basic skill levels of the students. 2) The development of Piano teaching and learning management model found that the principle of teaching model was the most important (M = 4.75, S.D. = 0.12), and followed by teaching guide book (M = 4.71, S.D. = 0.14), essential of teaching model (M = 4.60, S.D. = 0.15) structure of teaching model (M = 4.58, S.D. = 0.11), teaching materials and learning center  (M = 4.56, S.D. = 0.14), and the objectives of teaching model (M = 4.55, S.D. = 0.26). and 3) The Piano teaching skill  and learning management, before and after participating in thePiano teaching andlearning management model for the first-year undergraduate students of universities in the northeast of Thailand. The students who participated to the learning model, have improved their performance as indicated by the significant statistical results at .05 levels. The results show a significant different piano skill’s improvement as comparing before and after participating the learning model.  

    Download Full Paper: