Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านตามตาราง การบูรณาการเทคโนโลยีสำหรับนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์
The Development of Instructional Model Applied by the Flipped Classroom Model According to the Technology Integration Matrix for Engineering Students

[เปิดดู 76 ครั้ง]

ทักษ์ หงษ์ทอง สวนันท์ แดงประเสริฐ และ หริพล ธรรมนารักษ์

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านตามตารางการบูรณาการเทคโนโลยีสำหรับนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ และผลการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านตามตาราง การบูรณาการเทคโนโลยีสำหรับนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ ประชากร ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาวงจรดิจิทัล ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวนทั้งหมด 9 คน ผลจากการวิจัย พบว่า 1) ผลของการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านตามตารางการบูรณาการเทคโนโลยี ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรม การออกแบบเนื้อหาสาระและกิจกรรม เครื่องมืออุปกรณ์สื่อและสิ่งสนับสนุน  องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการ ประกอบด้วย กิจกรรม การเรียนการสอน บทบาทผู้สอน บทบาทผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านประกอบด้วย การเรียนนอกห้องเรียนซึ่งใช้ Google Classroom และการเรียนในห้องเรียนทำการจัดแผนการสอนตามตารางการบูรณาการเทคโนโลยี ตามหลักการเรียนรู้อย่างมีความหมาย 5 ด้าน คือ การเรียนรู้แบบกระตือรือร้น การเรียนรู้ที่เน้นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ที่ใช้เป้าหมายเป็นตัวขับเคลื่อน การเรียนรู้ที่เน้นสภาพจริงและการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ องค์ประกอบที่ 3 ผลผลิต ประกอบด้วย ความสามารถ การใช้เทคโนโลยีในการสร้างผลงานจากการนำเสนอ ความสามารถในการเข้ามาศึกษาข้อมูลและการส่งงาน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน องค์ประกอบที่ 4     การให้ข้อมูลย้อนกลับ 2) คะแนนเฉลี่ยความสามารถการใช้เทคโนโลยีสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการศึกษาข้อมูลและการส่งงาน สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  • Abstract
  •      This research  aimed to study and develop the results of the instructional model applied by the Flipped Classroom model due to the Technology Integration Matrix for engineering students. Group of samplings was 9 undergraduate students that study on Engineering Program in Electrical Engineering at Rajamangala University of Technology Lanna, Chiang Rai. They were enrolled in the Digital Circuits course in the second semester of the academic year 2019.  The result of this research showed that 1) The development instructional model applied by the flipped classroom model due to the technology integration matrix was consisted of four components: First, the inputs were included targeting, behavioral objectives, content design and activities, tools, media devices, and support. Second, the processes were included teaching activities, instructor roles, learner roles. The development of instructional model applied by the flipped classroom model consisting  of theoutside classroom study using Google Classroom and inside classroom study by using a lesson plan with the technology integration matrix. Such instructional model follow the five interdependent characteristics of meaningful learning environments: Active Learning, Constructive Learning, Goal-Directed Learning, Authentic Learning, and Collaborative Learning. Third, the product includes the ability of using technology to generate working resulted from presentations, the ability to enter information and submit assignments, academic achievement. Finally, the feedback includes the information obtained from the analysis of the relationship between productivity and purpose, which provides feedback to process improvement and feeder relative to that productivity and goal. 2) The data suggested that ) the average score for the technology proficiency was significantly higher than the level of criteria at .01. In addition, the average score for the ability to study data and the submission was significantly higher than the level of criteria at .01. The academic achievement after learning is significantly higher than before studying at the level of criteria at .01.

    Download Full Paper: