Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การประเมินรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำโขงตอนใต้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

[เปิดดู 57 ครั้ง]

อนุชา เพียรชนะ

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำโขงตอนใต้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีการวิจัย 3 ระยะ ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพเศรษฐกิจ สังคม ความรู้ความต้องการในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมในระดับครัวเรือนและสถานประกอบการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ ในเมืองปากเซ จำนวน 194 คน และผู้ประกอบการในเมืองปากเซ จำนวน 47 คน รวม 241 คน 2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำโขงตอนใต้ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ คณะกรรมการหมู่บ้านโพนกุงและบ้านหลักเมือง จำนวน 46 คน และผู้แทนในหน่วยงานราชการเมืองปากเซ จำนวน 18 หน่วยงาน และ 3).การประเมินรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำโขงตอนใต้ กลุ่มเป้าหมาย คือ ตัวแทนระดับอำเภอเมืองโพนทอง 30 ท่าน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจำนวน 19 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่ม และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ระยะที่ 1 สภาพทางเศรษฐกิจ สังคม กลุ่มตัวอย่างมีรายได้ของครัวเรือนเฉลี่ย 201,151 บาท/ปี และมีรายจ่ายในระดับครัวเรือน 122,714 บาท/ปี ซึ่งแสดงว่าสภาพเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีหนี้สิน สภาพสังคมของกลุ่มตัวอย่างจะเชื่อฟังผู้นำและปฏิบัติตามนโยบายของทางภาครัฐ เมื่อวัดความรู้ ความต้องการและการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำโขงตอนใต้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง ( = 1.69, S.D. = 0.70) ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำโขงตอนใต้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ระบบและกลไก 4) กระบวนการบริหาร 5) การประเมินผล และ6) เงื่อนไขความสำเร็จ ระยะที่ 3 ผลการประเมินรูปแบบ พบว่ารูปแบบการบริหารจัดการมีความเหมาะสมในระดับมาก (มีค่า  = 3.53, S.D. = 0.89) และการประเมินรูปแบบของผู้เชี่ยวชาญโดยภาพรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในระดับมาก (มีค่า  = 3.69, S.D = 0.76) สรุปได้ว่ารูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำโขงตอนใต้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเหมาะสมต้อง ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ เพื่อให้ผลการศึกษานำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และสิ่งแวดล้อมประจำแขวงจำปาสักต้องเสนอต่อที่ประชุมแขวง และนำเสนอต่อพรรคในขั้นตอนต่อไป เพื่อกำหนดเป็นนโยบายของพรรคในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำโขงตอนใต้

  • Abstract
  •       The objective of this research is to evaluate the model of water resources management in the Southern Mekong Basin. There are 3 phases of research as follows: 1) study economic, social, knowledge and needs in conserving natural resources, the environment, and participation at the household and workplace levels. The sample consisted of 194 people living in Pakse and 47 entrepreneurs in Pakse, totaling 241 people. The second phase, the research aims to develop the model of water resources management in the South Mekong Basin. The target groups were the Phon Kung village committee and Baan Lak Mueang, consisting of 46 people and representatives from the government agencies in Pakse, 18 agencies. The third phase, assessment of water resource management model in the Southern Mekong River Basin. The target group are 30 representatives from Mueang Phon Thong District and 19 experts in water resources management. The research instruments were included questionnaires, interview forms, group discussions and evaluation form. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation and content analysis. The results show that in phase 1, Socioeconomic conditions, the sample group has an average household income of 201,151 baht / year and expenditures at the household level 122,714 baht/year, indicating that the overall economic conditions are good. Most of the respondents do not have debts. Social conditions of the respondents would obey the leaders and follow with government policies. When measuring knowledge needs and participation in the management of water resources in the Southern Mekong Basin Lao People's Democratic Republic found at moderate level ( = 1.69, S.D. = 0.70). Phase 2: The development of a participatory water resource management model consisting of 6 components : 1) principle, 2) objective, 3) system and mechanism, 4) management process, 5) evaluation and 6) success conditions. The third phase, the model evaluation results showed that the management model was appropriate as the statical data reached a high level ( = 3.53, S.D. = 0.89). The overall expert model assessment reported an appropriate management as reached the high statistical level ( = 3.69, S.D. = 0.76). In conclusion, the appropriate model for resource management in the Southern Mekong River Basin in Laos PDR was consisted of 6 components that  can lead to concrete operations and to continually preserved environments in Champasak Province. Such research findings can be used as information proposing to the official district meetings and to the political party’s meeting in the future. Next step of research applications should be delivering such findings to the policy’s formation  in regards to water resource management in the lower Mekong Basin.

    Download Full Paper: