Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การใช้มาตรการ ลด-เปลี่ยน-ปรับปรุง ในการประเมินผลเพื่อบรรลุเป้าหมายระบบขนส่ง อย่างยั่งยืนของแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 12 ปี (พ.ศ.2552-2563)

[เปิดดู 63 ครั้ง]

นภิศา วิสุทธิพันธุ์ อลัน มาร์แชล และ คนางค์ คันธมธุรพจน์

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการขนส่งอย่างยั่งยืนในแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 12 ปี (พ.ศ.2552 – 2563) โดยใช้ทฤษฎี “ลด เปลี่ยน และ ปรับปรุง (Avoid-Shift-Improve-ASI)” เป็นกรอบในการประเมิน และเพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองที่มีระบบการขนส่งสาธารณะที่ยั่งยืน  ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน  15 คน จากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ  ผลการศึกษาพบว่า แผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 12 ปียังไม่เป็นไปตามกรอบ ASI โดยในเรื่องลดการเดินทางที่ไม่จำเป็น (Avoid) ในทางปฏิบัติยังไม่สามารถลดการเดินทางได้ ในเรื่องการพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินและการพัฒนาพื้นรอบสถานีขนส่งมวลชนยังไม่มีการบูรณาการแผนการขนส่งกับผังเมือง และยังไม่มีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในภาคการขนส่ง  สำหรับการเปลี่ยน (Shift) รูปแบบการเดินทางนั้น มีความพยายามเปลี่ยนสู่การใช้ระบบขนส่งสาธารณะและการส่งเสริมการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ (non-motorised transport)  อย่างไรก็ตาม การให้บริการของระบบขนส่งสาธารณะยังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการ ค่าเดินทางสาธารณะมีราคาแพงและขาดการเชื่อมต่อเพื่อเปลี่ยนถ่ายระบบขนส่ง ด้วยเหตุนี้การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเดินทางโดยใช้ระบบขนส่งสาธารณะจึงยังไม่ประสบความสำเร็จ  ในเรื่องการปรับปรุง (Improve) มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับรถยนต์ และพัฒนาพลังงานทางเลือกโดยการสนับสนุนการลดภาษีสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแต่ยัง ไม่สามารถจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้รถพลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะจากการวิจัย 6 ประการ ได้แก่ 1) ส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่บริเวณรอบสถานีขนส่งมวลชน 2) ส่งเสริมแนวคิดการพัฒนาเมืองแบบหลายศูนย์แบบยั่งยืน (Polycentric Cities) สำหรับกรุงเทพมหานคร 3) ส่งเสริมการวางแผนชุมชนเมืองให้มีความเหมาะสมกับระบบขนส่งสาธารณะ 4) ส่งเสริมการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ เช่น การลดอัตราภาษีสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า พิจารณากำหนดอัตราภาษีเชื้อเพลิงต่างๆ และ พิจารณาระบบตั๋วร่วม 5) กำหนดให้รถบัสในพื้นที่กทม. เป็นมาใช้รถบัสพลังงานไฟฟ้า 6) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้รถยนต์พลังงานทางเลือก เช่น สถานีอัดประจุไฟฟ้า

  • Abstract
  •       This study aimed to evaluate the 12-year development plan for Bangkok Metropolis (2009–2020) and to propose recommendations for improving sustainable transportation in the city. This research conducts qualitative approach by employing in-depth interviews with 15 key informants from public, private, and academic sectors. The Avoid-Shift-Improve (ASI) approach was used as a framework to analyse the plan plan’s goal to limit GHG emissions and to provide alternative mobility solutions for sustainable transport systems development. The research finding suggests that the 12-year development plan did not meet the criteria of ASI. Specifically, the avoidance of increased transportation activity was unt found. Also, jobs-housing and transit-oriented development plans were not integrated into the plan. In addition, technologies were not used to improve the transportation. On the positive side, there was a shift in the pattern of transportation to public transport and non-motorised transport. As such, however, the supply of public transportation services were under the demand. Moreover, mass transit ticket prices were considerably too high with the disconnection between the transportations’ transactions. Therefore, change in public transportation’s pattern was considerably unsuccessful. In terms of improvement, there was an attempt to utilize green technology to improve vehicle technology and fuel efficiency. The government also developed  renewable energy for electric vehicles. The development plan also offered the tax-cut policy to attract consumers. As such, however, the policy was unsuccessful to motivate consumers using renewable energy. This research project, therefore, proposes attempt to improve existing forms of transport was ineffective. This study provides six recommendations; (1) to support the physical development projects around the building construction around the transportation office (2) to support the idea of polycentric cities’ development (3) to support the suitable formation of communities planning as relevant to public transportation (4) to support the use of economic tools including tax-cut policy for electric vehicles and considering energic tax rate and common fare tickets (5) implementing policy forcing the buses in Bangkok area changing to electric vehicles (6) to develop infrastructure to support electric car users such as charging stations.

    Download Full Paper: