Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

ระบบเสนอแนะกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้ซึ่งวิเคราะห์ด้วยการทำเหมืองข้อมูล
The Recommendation System for Learning Activities According to Learning Styles Analyzed by Data Mining

[เปิดดู 121 ครั้ง]

เพ็ญศรี อมรศิลปชัย

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อคัดเลือกโมเดลจำแนกรูปแบบการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาระบบเสนอแนะกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้ซึ่งวิเคราะห์ด้วยการทำเหมืองข้อมูล และ 4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ระหว่างการเรียนซึ่งจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ระบบเสนอแนะกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้ กับการเรียนซึ่งจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยผู้สอน สำหรับตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการเรียนรู้ จะวิเคราะห์จากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน ซึ่งเก็บรวมรวมโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการเรียนรู้ ในการสร้างโมเดลจำแนกรูปแบบการเรียนรู้ จะใช้ข้อมูลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 1,328 คน ซึ่งเก็บรวมรวมโดยใช้แบบสอบถามวัดรูปแบบการเรียนรู้ ตามหลักการของ ของ Honey และ Mumford ส่วนการประเมินระบบเสนอแนะกิจกรรมการเรียนรู้ จะประเมินจากความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อระบบ จำนวน 5 คน และในการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จะทดลองกับนักศึกษา 2 กลุ่ม โดย กลุ่มที่ 1 จำนวน 28 คน ซึ่งเรียนโดยใช้ระบบจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และกลุ่มที่ 2 จำนวน 27 คน ซึ่งเรียนโดยผู้สอนเป็นผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า 1) มี 7 ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการเรียนรู้ ได้แก่ เพศ คณะ ชั้นปี เกรดเฉลี่ยสะสม วิชาที่ทำคะแนนได้สูงสุด วุฒิการศึกษาเดิม และแผนการเรียนเดิม 2) โมเดลที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ โมเดลที่สร้างจากอัลกอริทึม J48graft ซึ่งมีค่าความถูกต้องร้อยละ 82.23 โดยผลลัพธ์นี้ได้มาจากการทดสอบประสิทธิภาพของโมเดลจำแนกรูปแบบการเรียนรู้ซึ่งสร้างจากอัลกอริทึมด้านการทำเหมืองข้อมูลจำนวน 14 อัลกอริทึม สำหรับข้อมูลเข้าที่นำไปทำเหมืองข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลของ 7 ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการเรียนรู้ และ ผลการตอบแบบสอบถามวัดรูปแบบการเรียนรู้  3) ระบบเสนอแนะกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 โมดูลหลัก ได้แก่ โมดูลการจัดการข้อมูลนักศึกษา โมดูลกิจกรรมการเรียนรู้ โมดูลการทำนายและเสนอแนะ และ โมดูลการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยโมเดลที่สร้างจาก J48graft ถูกนำไปใช้เป็นพื้นฐานในการสร้างโมดูลการทำนายและเสนอแนะ สำหรับการประเมินความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อระบบโดยภาพรวม คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 4.6 ซึ่งความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 4) นักศึกษาซึ่งเรียนโดยใช้ระบบจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักศึกษาที่เรียนโดยผู้สอนเป็นผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  • Abstract
  •       This research has four purposes including 1) to analyze the variables related to learners' learning style 2) to select a learning style classification model 3) to develop a recommendation system for learning activities according to learning style analyzed by data mining and 4) to compare learners' study achievement between the study whose learning activities are organized by the recommendation system for learning activities and the study whose learning activities are organized by an instructor. For variables related to learning style, 12 experts’ opinions are analyzed by using a questionnaire for experts' opinions on variables related to learning style. Learning style questionnaires were developed based on the principle of Honey and Mumford, which are collected from 1,328 undergraduate students studying at Nakhon Ratchasima Rajabhat University. These samplings are applied to create 14 learning classification models. In order to evaluate the recommendation system for learning activities, the satisfactions of the system are collected from 5 experts. For comparing study achievement, the experiment is conducted with 2 groups of students. The first group consists of 28 students studying by the system-based organizing the learning activities whereas the second group consists of 28 students studying by an instructor-based organizing’s learning activities. The research results are as follows. Firstly, there are 7 variables related to the learning style : gender, faculty, year, GPA, highest score subject, previous qualification and previous study plans. Secondly, the most efficient model is the one created by J48graft algorithm, which has an accuracy of 82.23%. This results are obtained by testing the performance of learning style classification models created by 14 data mining algorithms. The inputs for data mining are the 7 variables related to learning style and the results of the learning style questionnaires collected from 1,328 students. Thirdly, the recommendation system for learning activities consists of 4 main modules: student data management module, learning activity module, prediction and recommendation module and study achievement module. The model created by J48graft is used as a basis for building the prediction and recommendation module. For assessing experts’ satisfaction with the system, overall average score is 4.60, which satisfaction is at the most level. Fourthly, the students from the system-based organizing’s learning activities reach higher study achievement than the students from the instructor-based organizing’s  learning activities at the statistical significance level of .05

    Download Full Paper: