Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การวิเคราะห์กลวิธีการใช้ภาษาเพื่อการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในไลน์ Amazing Thailand
An Analysis of Language Strategies Using in the Public Relations of Cultural Tourism Collected from Timeline Messages of Amazing Thailand Line Account

[เปิดดู 55 ครั้ง]

รสริน ดิษฐบรรจง

  • บทคัดย่อ
  •       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการใช้ภาษาในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในไลน์ Amazing Thailand เก็บข้อมูลการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจาก ไลน์ Amazing Thailand โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะเวลา 6 เดือน  ตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม 2562 – เดือนธันวาคม 2562 จำนวน 56 เรื่อง ผลการวิจัยพบกลวิธีทางภาษาที่ใช้ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 6 กลวิธี  ได้แก่ การใช้วัจนกรรม การอ้างถึงการขยายความ การใช้ภาษาภาพพจน์ การใช้เรื่องเล่า และกลวิธีทางสัญญะ 1) การใช้วัจนกรรม พบวัจนกรรมกลุ่มชี้นำ (Directive) ได้แก่ วัจนกรรมการแนะนำ เป็นกลวิธีทางภาษาที่ผู้เขียนใช้ในการเชื้อเชิญหรือชี้นำผู้อ่านให้กระทำหรือไม่กระทำสิ่งต่างๆ วัจนกรรมกลุ่มบอกกล่าว (Representative/Assertive) ได้แก่ วัจนกรรมบอกเล่าและวัจนกรรมยืนยัน คือ การใช้ภาษาถ่ายทอดข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้ผู้อ่านได้ทราบ และวัจนกรรมกลุ่มแสดงความรู้สึก (Expressive) ได้แก่ วัจนกรรมการเตือนและวัจนกรรมการชื่นชม 2) การอ้างถึง พบการ ใช้คำอ้างถึงการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม เช่น“ท่องเที่ยว, เที่ยว”  และ  “วัฒนธรรม” และใช้การเชื่อมโยงทางคำศัพท์ (Lexical Cohesion) ที่มีความหมายถึง การท่องเที่ยว และความหมายที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม 3) การขยายความ คือ การใช้คำ หรือกลุ่มคำที่มีรายละเอียดหรือมีความหมายเสริมจากถ้อยคำที่อ้างถึงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม  ปรากฏการขยายความด้วยคำ และการขยายความด้วยวลีหรืออนุพากษ์ เพื่อแสดงสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ลักษณะทางกายภาพ ความสวยงามของสถานที่ และอัตลักษณ์ของท้องถิ่น 4) การใช้ภาษาภาพพจน์ ได้แก่ อุปมา การเล่นเสียง และการเล่นคำ 5) การใช้เรื่องเล่า เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้อ่านให้รู้สึกเหมือนได้ร่วมเดินทางไปกับผู้เขียน ปรากฏเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์และเรื่องเล่าทางคติชน 6) กลวิธีทางสัญญะ ได้แก่ การใช้ภาพประกอบการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประกอบด้วย การจัดวางองค์ประกอบ การสื่อความหมายผ่านรูปภาพ และการใช้รูปแบบอักษร

  • Abstract
  •     This qualitative research aimed to analyze the language strategies used by the public relations of cultural tourism collected from timeline messages of Amazing Thailand Line account. This project applied purposive sampling method. Fifty-six timeline messages were collected in the six months between July to December, 2019. Six language strategies, whichpromoted the cultural tourism were included speech act, referencing, modification, figure of speech, narrative and semiotic strategies. Speech act was discovereda form of directive when the writers suggested or persuaded the readers to do or not to do somethings; representative or assertive to convey the cultural tourism information to the readers; and expressive for the purpose of reminding or complimenting. 2) referencing was used in relations to the words  “tourism”, “travel” and “culture” traand adapting lexical cohesion, which contain some meanings referring to tourism and culture. 3) modification words or phrases were used to illustrate the details or support the meaning referring to cultural tourism. The results related to modification words also show an attempt of  using words, phrases or subordinate clauses to show the location of the cultural attraction, describe physical appearance, and portray the beauty of the places and the local identity. 4) Figure of speech was included simile, alliteration and antanaclasis. 5) Narratives were conducted to attract the audience’s attention and to allow  the readers to take a journey with the authors. Such narratives were included historical stories and folk wisdom. 6) semiotic strategies were applied to illustrate and promote cultural tourism by considering the composition, delivering meaning via the picture and using specific font.

    Download Full Paper: