Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

กลวิธีทางภาษาที่ใช้สื่ออุดมการณ์ความเป็นอื่นในวาทกรรมว่าด้วยเรื่องชาติพันธุ์

[เปิดดู 52 ครั้ง]

ปุณชญา ศิวานิพัทน์ และ ราชันย์ นิลวรรณาภา

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์กลวิธีทางภาษาที่ใช้สื่ออุดมการณ์ความเป็นอื่นในวาทกรรมว่าด้วยเรื่องกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคอีสาน ข้อมูลที่นำมาใช้ศึกษามาจากเอกสารและสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ได้แก่ เอกสารที่หน่วยงานราชการเรียบเรียงขึ้น เอกสารทางประวัติศาสตร์ และเอกสารประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว โดยนำแนวคิดเกี่ยวกับอุดมการณ์ความเป็นอื่น (Otherness Ideology) และแนวคิดกลวิธีทางภาษา (Linguistic Strategies) มาเป็นแนวทางศึกษา ผลการวิจัยพบว่า ตัวบทวาทกรรมได้ถ่ายทอดอุดมการณ์ความเป็นอื่น ซึ่งประกอบด้วยชุดความคิดย่อย 2 ชุดด้วยกัน ได้แก่ การสร้างความเป็นอื่นระหว่างรัฐกับกลุ่มชาติพันธุ์ และการสร้างความเป็นอื่นระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ โดยมีกลวิธีทางภาษาที่ใช้สื่ออุดมการณ์หรือชุดความคิดดังกล่าว 2 กลวิธี ได้แก่ 1) การเลือกใช้คำศัพท์เพื่อสื่อชุดความคิดการสร้างความเป็นอื่นระหว่างรัฐกับกลุ่มชาติพันธุ์   3 ลักษณะคือ การใช้คำเรียกชื่อมณฑลและชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ตามความเข้าใจแต่เดิม การใช้คำจำแนกประเภทกลุ่มชน และการใช้คำแสดงสภาพหรือสถานะในคำเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ และ 2) การใช้คำเรียกขานเพื่อสื่อชุดความคิดการสร้างความเป็นอื่นระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยกัน 2 ลักษณะคือ การเหยียดชาติพันธุ์และการดูหมิ่นทางฐานะสังคม ทั้งนี้ การใช้กลวิธีทางภาษาในการสร้างวาทกรรมนับเป็นการใช้ภาษาในฐานะเครื่องมือในการสื่อชุดความคิดหรืออุดมการณ์ที่จะเอื้อต่อผู้สร้างวาทกรรม ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสังคมในแต่ละยุคสมัย ทำให้เราเข้าใจถึงชุดความคิด ความเชื่อ และเกิดการสั่งสมอุดมการณ์จนเกิดเป็นวิถีปฏิบัติทางสังคมในเรื่องการมองคนกลุ่มอื่นที่ไม่ใช่กลุ่มของตนเป็น “คนอื่น” ตั้งแต่ในอดีตสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

  • Abstract
  •       The objective of this research paper aimed to study the linguistic strategies as for communicating the ideology of otherness occurring upon in the ethnic discourse in Isan Region. Data were collected from documents and publications including documents complied by government agencies, history books, and tourism promotion brochures. The research applied adopting the otherness ideology and the linguistic strategies. The results revealed that the otherness ideologies were consist of two sub-ideologies: the construction of the otherness between the government and ethnic groups, and the construction of the otherness within the ethnic groups. In addition, the results revealed that there were two language strategies including; 1) lexical choice: used of country names and ethnonyms as originally intended, used of words to classify people and used of terms or status in ethnic groups 2) system of address as for communicating the ideology of otherness: racism and prejudice. In this regard, the use of language strategies in discourse considered as language  as a mean of communication to convey a set of ideas or ideologies that will help the creators of discourses that change according to the context of society in each period. The result guided us to understand the set of ideas,  and the accumulation of ideology to become a social practice about looking at other groups as “otherness” from the past to the present.

    Download Full Paper: