Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การพัฒนาชุดกิจกรรมร่างกายสร้างจังหวะสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา เพื่อเสริมสร้างทักษะเครื่องกระทบขั้นพื้นฐานโดยใช้เพลงไทย
Development of Body Percussion Learning Activities for Elementary to Promote Percussion Basic Skills Using Thai Songs

[เปิดดู 76 ครั้ง]

กัญฐิตา โกมลพันธุ์ และ วิชฏาลัมพก์ เหล่าวานิช

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมร่างกายสร้างจังหวะสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะเครื่องกระทบขั้นพื้นฐานโดยใช้เพลงไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพัฒนา 5 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาเอกสารและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง 2) สำรวจความต้องการชุดกิจกรรม 3) สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 4) พัฒนาชุดกิจกรรม 5) ตรวจสอบคุณภาพชุดกิจกรรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ครูดนตรีที่รู้จักร่างกายสร้างจังหวะ 30 คน 2) ผู้เชี่ยวชาญการสอนเครื่องกระทบ 4 คน 3) ผู้เชี่ยวชาญการสอนกิจกรรมดนตรีสำหรับเด็ก 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจความต้องการจำเป็นการใช้กิจกรรมดนตรีสำหรับครู และแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า ครูดนตรีมีความต้องการนำกิจกรรมร่างกายสร้างจังหวะ มาประยุกต์ใช้ในห้องเรียน เนื่องจากเพลงไทยเป็นเพลงที่ผู้เรียนคุ้นเคย ง่ายต่อการเรียนรู้ดนตรี แต่ยังขาดองค์ความรู้ สื่อการสอน ตัวอย่างบทเพลงหรือกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม ซึ่งชุดกิจกรรมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นสามารถตอบสนองความต้องการดังกล่าว โดยมีรูปแบบเป็นหนังสือ แบ่งเป็น 4 องค์ประกอบ คือ 1) โครงการสอนระยะยาว 2) แผนการสอนรายคาบ 3) เนื้อหาดนตรี คือ (1) สาระทางดนตรี ประกอบด้วยโน้ตรูปแบบทำนองและโน้ตรูปแบบจังหวะ (2) ทักษะเครื่องกระทบขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยการเลือกใช้มือและซิงเกิล  สโตรคโรล และ 4) บทเพลงไทย ซึ่งถูกเรียบเรียงขึ้นใหม่และจัดเรียงเนื้อหาให้เหมาะสมกับพัฒนาการของผู้เรียน โดยชุดกิจกรรมได้ผ่านการประเมินจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญอยู่ในเกณฑ์ ดีมาก

  • Abstract
  •      This research aims to develop body percussion learning activities for elementary to promote percussion basic skills with performing Thai songs. This project develops five stages of methodologies: 1) to review the documents and the concepts; 2) to explore the need of activities; 3) to interview the specialists; 4) to develop activities; and 5) to assure the quality of activities. The sample groups are included: 1) thirty music teachers who are familiar with body percussion; 2) four percussion specialists; and 3) three music for children activity’s specialists. Research methodology were comprised of survey forms for the need of using music activities for teacher and interview forms. The results indicated that musical teachers shown their interest to integrate body percussion learning activities in music lesson. Such musical type not only represents Thai art and Thai culture but is also easy for musical learners. However, there is still lacked of knowledge, teaching materials, and concrete examples of repertoires or obvious activities. The researcher also develops activities fulfilling needs of leaners that are included four elements: 1) guideline for developing a long-term teaching program; 2) Lesson plan for each class; 3) musical contents, which are consisted of melodic pattern and rhythmic pattern, and basic percussion skills, which are included musical contents with sticking and single stroke notes; and 4) Thai songs that have been newly arranged in accordance to the leaners’ developments. The developed assessments have been evaluated ‘very good’ by the experts.

    Download Full Paper: