Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การจัดการท่องเที่ยวของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม
Tourism Management in Dun Lam Phan Non-Hunting Area, Na Chueak District, Maha Sarakham Province

[เปิดดู 62 ครั้ง]

ลินจง โพชารี

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดในการจัดการท่องเที่ยวเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน  จากนั้นศึกษาปัจจัยทางการตลาดท่องเที่ยวที่มีผลในการจัดการท่องเที่ยว แล้วนำมาเสนอแนวทางในการจัดการท่องเที่ยวของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน การวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการระดมความคิดเห็นจากกลุ่มเฉพาะ (Focus Group) จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่จำนวน 30 คน และ และวิธีวิจัย เชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถามกับนักท่องเที่ยวชาวไทยจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ มีโครงสร้าง และ แบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อเกี่ยวกับปัจจัยทางการตลาดท่องเที่ยว เท่ากับ 0.61-0.74 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญมาก ในการจัดการท่องเที่ยวของพื้นที่ โดยตัวชี้วัดที่พื้นที่ต้องจัดการอย่างเร่งด่วน คือ ผลักดันให้เยาวชนเล็งเห็นถึงความสำคัญของการท่องเที่ยวในชุมชน และเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยทางการตลาดบริการที่มีผลในการจัดการท่องเที่ยวของพื้นที่มากที่สุด คือ ความมีชื่อเสียงและความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของพื้นที่ ส่งผลให้พื้นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ทุกคนรู้จัก แนวทางในการจัดการท่องเที่ยวของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน ไปสู่ความยั่งยืน คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในพื้นที่ต้องเข้าใจและเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อีกทั้งสนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยวที่จัดขึ้น และทำควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติบริเวณรอบป่าดูนลำพัน โดยอาศัยกระบวนการ การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

  • Abstract
  • Download Full Paper: