Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

ตัวแบบการจัดการแรงงานที่มีประสิทธิภาพสูงในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของประเทศไทย
High Performance Workforce Management Model in Thailand Garment Industry

[เปิดดู 60 ครั้ง]

อริสรา รุ่งเรือง นภาพร ขันธนภา และ ระพีพรรณ พิริยะกุล

  • บทคัดย่อ
  •       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการเรียนรู้แบบพลวัต การออกแบบงาน การจ่ายค่าตอบแทนตามสมรรถนะ การมีส่วนร่วมของพนักงาน ความไว้วางใจเชิงความสัมพันธ์ และแรงงานที่มีประสิทธิภาพสูง และการตอบย้ำ ตัวแบบการจัดการแรงงานที่มีประสิทธิภาพสูง ในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานระดับหัวหน้า จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1) สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์แห่งความผันแปร 2) สถิติอนุมาน ใช้วิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง และการลดรูปปัจจัยลำดับที่สองด้วยการวิเคราะห์ปัจจัย ผลการวิจัยพบว่า การเรียนรู้แบบพลวัต การออกแบบงาน และการจ่ายค่าตอบแทนตามสมรรถนะ มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของแรงงานที่มีประสิทธิภาพสูงในขนาด 0.23, 0.26 และ 0.21 ตามลำดับ  ในส่วนของปัจจัยคั่นกลางความไว้วางใจเชิงความสัมพันธ์ มีอิทธิพลสูงกว่าการมีส่วนร่วมของพนักงาน ดังนั้นถ้าธุรกิจมีการจัดการส่งเสริมการฝึกอบรม ให้ความรู้ ส่งเสริมให้พนักงานหาความรู้ใหม่ด้วยตนเอง มีการนำเทคโนโลยี นวัตกรรมมาใช้คิดค้นในการออกแบบงานและและการจ่ายค่าตอบแทนที่เหมาะสม ก็จะส่งเสริมระดับการจัดการแรงงานที่มีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น

  • Abstract
  •        The objectives of this research were to investigate the level of dynamic learning, job design, competency-based compensation, employee involvement, relational trust, high-performance workforce and the confirmation of a high-performance workforce management model in the Thai garment industry. The Likert five scale questionnaire was conducted on 200 sample staff supervisors. The statistical techniques consisted of 1) descriptive statistics: mean, standard deviation, and coefficient of variation, 2) inferential statistics: structural equation model and factor analysis for second-order reduction. The results showed that dynamic learning, job design, and competency-based compensation influence to high-performance workforce with values 0.23, 0.26, and 0.21 respectively. Moreover, relational trust had more substantial influence than employee involvement. To enhance employees' knowledge and creativity thinking, the business should apply new technology with training techniques. Additionally, job design and competency-based policy should also be improved to speed up for a high-performance workforce to support competitive advantage.

    Download Full Paper: