Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

รูปแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืนของการผลิตมันสำปะหลังแขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

[เปิดดู 62 ครั้ง]

Anongsak Phachomphonh, Thanakrit Thurisut and Pachon Kingminghae

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนของระบบการผลิตมันสำปะหลังและเพื่อสร้างรูปแบบระบบการผลิตมันสำปะหลังเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนของระบบการผลิตมันสำปะหลัง นำแนวคิดเกี่ยวกับระบบการผลิตและการปลูกพืชมันสำปะหลังและทฤษฎีระบบ อธิบายถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อระบบผลิตมันสำปะหลังและเป็นตัวแปรที่ศึกษา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้ผลิตมันสำปะหลัง จำนวน 353 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ใช้สถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบปกติ จากนั้นนำผลศึกษามาสร้างรูปแบบโดยใข้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ อธิบายด้วยทฤษฎีการพัฒนาที่ยั่งยืนและทฤษฎีการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน กลุ่มเป้าหมายจำนวน 35 คน ด้วยการสัมภาษณ์กลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความถี่  ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนของระบบการผลิตมันสำปะหลังแขวงบอลิคำไชทั้งหมดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงสุดได้แก่ ปัจจัยด้านสถาบัน X3 (In) ตามด้วยปัจจัยการจัดการ X2 (Ma) ปัจจัยการมีส่วนร่วม / สหกรณ์ (Pa) X4 และปัจจัยทางกายภาพ X1 (ph) ตามลำดับ (t = 6.63, 3.12, 2.75 และ 2.75 ตามลำดับ) และรูปแบบระบบการผลิตมันสำปะหลังเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนแขวงบอลิคำไซ 4 ด้าน รวม 17 กิจกรรม ได้แก่ 1) การพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมสำหรับกลุ่มการผลิตมันสำปะหลัง 2) การพัฒนาเศรษฐกิจ 3) การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสำหรับกลุ่มการผลิตมันสำปะหลัง 4) การพัฒนาความแข็งแกร่งของกลุ่มสำหรับการผลิตมันสำปะหลัง

  • Abstract
  •       The purposes of this research were: to study factors influencing to sustainability of cassava production system in Bolikhamxay Province by applying mix-methods including quantitative and qualitative approaches. Quantitative method applies 353 surveys, which examine factors influencing to the sustainability of the cassava production system. Such quantitative examination applies concepts related to cassava production and cropping systems with the applications of system theory that can be used as an explanation for factors effecting to cassava production and as studied variables. The quantitative analysis applies normal multiple regression and then using such calculated results for designing qualitative method. Such qualitative exploration is explained by theory of sustainable development and agricultural sustainable development with 35 informants who participated in focus group. The qualitative analysis applies descriptive statistics including  means, standard deviation and frequency. The results of the research as follows: factors that influence the sustainability of cassava production system reveal a significant rate at .01.  The factors that influenced the institutional X3 (In) followed by management factors X2 (Ma), participation,/ cooperative factors (Pa) X4 and physical factors X1 (ph) respectively (t = 6.63, 3.12, 2.75), and 2.75 respectively and model for sustainable development in Borikhamxay Province, Lao PDR. This research can be summarized in four aspects consisting of seventeen activities: 1) social and cultural development for cassava production groups 2) economic development 3) development of natural resources and the environment for cassava production groups 4) strength’s development for groups for production.

    Download Full Paper: