Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การจัดการทางวัฒนธรรมเพื่อการดำรงอยู่ของการละเล่นพื้นบ้านไทยพวน กรณีศึกษาจังหวัดนครนายกและจังหวัดสระบุรี
Cultural Management for Existence of Thai-Phuan Folk Plays : A Case Study Nakhon Nayok Province and Saraburi Province

[เปิดดู 67 ครั้ง]

อารีวรรณ หัสดิน, สาธิต ทิมวัฒนบรรเทิง และ จักรพงษ์ แพทย์หลักฟ้า

  • บทคัดย่อ
  •       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการทางวัฒนธรรมเพื่อการดำรงอยู่ของการละเล่นพื้นบ้านไทยพวน กรณีศึกษาจังหวัดนครนายกและจังหวัดสระบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากการรวบรวมข้อมูล 3 แหล่ง ได้แก่ แหล่งข้อมูลเอกสาร แหล่งข้อมูลบุคคล โดยการสัมภาษณ์เดี่ยวแบบเจาะลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 65 คน และแหล่งข้อมูลภาคสนาม โดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ทั้ง 3 แหล่งมาสังเคราะห์และนำเสนอข้อมูลแบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า จังหวัดนครนายกเป็นจังหวัดที่มีทุนทางสังคมสูง  ในขณะที่จังหวัดสระบุรีเป็นจังหวัดที่มีทุนทางวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง ด้านการจัดการทางวัฒนธรรมเพื่อการดำรงอยู่ของการละเล่นพื้นบ้านไทยพวนทั้ง 2 จังหวัด    มีกระบวนการจัดการทางวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน ได้แก่ ด้านการจัดการเพื่อการรื้อฟื้นวัฒนธรรม  ด้านการจัดการเพื่อการสืบทอดวัฒนธรรม ด้านการจัดการเพื่อการปรับประยุกต์ และด้านการจัดการเพื่อการส่งเสริมเผยแพร่  อย่างไรก็ตาม การจัดการวัฒนธรรมของทั้งสองจังหวัดมีความแตกต่างกันที่จุดเริ่มต้น จังหวัดนครนายกเริ่มต้นจากด้านการจัดการเพื่อการรื้อฟื้นวัฒนธรรม  จังหวัดสระบุรีเริ่มต้นจากด้านการจัดการเพื่อการสืบทอดวัฒนธรรม หัวใจสำคัญที่ทำให้การจัดการทางวัฒนธรรมการละเล่นพื้นบ้านไทยพวนของทั้งสองจังหวัดประสบความสำเร็จ คือ ความร่วมมือร่วมใจของคนในวัฒนธรรมและการมีเครือข่ายทางวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง

  • Abstract
  •        The objective of this research was to study the cultural management pattern for the existence of Thai-Phuan’ ethnic folk plays. The study presented a case study Nakhon Nayok Province and Saraburi Province which applied qualitative research methods. Data were collected from three sources including documentary research, personal information with using the in-depth interviews of 65 key informants, with the semi-structured interview, and field data with participatory observation. All three data sources were synthesized and presented as descriptive data. The results showed that Nakhon Nayok Province exhibited a high social capital, while Saraburi Province revealed a different outcome because of a robust cultural capital. With this said, the cultural management as for sustaining the existence of the Thai folk plays of the two provinces were similar. Such similarities were included cultural revitalization, cultural inheritance, management for application’s adjustment, and management for promotion. However, cultural management of the two provinces were considerably different since the starting point. The cultural management in Nakhon Nayok Province started from the revival cultural management. The Saraburi’s one began from the administration of cultural inheritance. The successful key factors leading the achievement of cultural management of Thai-Phuan ethnic’ folk plays for the two provinces were included cultural collaborations and networks of peoples in each culture.

    Download Full Paper: