Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

กระบวนการสร้างกรอบโครงความคิดของขบวนการเสื้อแดง จังหวัดขอนแก่น
Framing Process of The Khon Kaen Red Shirt Movement

[เปิดดู 87 ครั้ง]

ชุติเดช สำเร็จ และ กนกรัตน์ เลิศชูสกุล

  • บทคัดย่อ
  •        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกระบวนการสร้างกรอบโครงความคิดทางการเมืองที่ทำให้คนเสื้อแดง เกิดความตื่นตัวทางการเมือง และวิเคราะห์การต่อสู้เพื่อสร้าง เปลี่ยนแปลง และผลิตซ้ำกรอบโครงความคิดทางการเมืองของคนเสื้อแดง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลใช้ทฤษฎีกรอบโครงความคิด เป็นเครื่องมือหลักในการทำความเข้าใจขบวนการเสื้อแดง และนำเสนอในรูปแบบการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มคนเสื้อแดง ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ช่วงระยะเวลาหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ.2549 ถึง การเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 ผลการวิจัยพบว่า 1) มวลชนเสื้อแดงจังหวัดขอนแก่น ได้เลือกรับกรอบโครงความคิดของขบวนการที่สอดคล้องกับประสบการณ์ของตนเอง โดยพิจารณาและสอดคล้องกับความเป็นจริงทางสังคมการเมือง 2) มวลชนคนเสื้อแดงมีความพยายามต่อสู้ ต่อรอง เพื่อปรับเปลี่ยนกรอบโครงความคิดที่ถูกสร้างขึ้นด้วย 3) แม้ว่าขบวนการเสื้อแดงเองจะต้องประสบกับอุปสรรคจนต้องยุติการเคลื่อนไหว จากบริบทการเมืองแบบเผด็จการหลังรัฐประหารปี 2557 แต่กระบวนการสร้างกรอบโครงความคิดที่มวลชนได้มีส่วนร่วมส่งผลพัฒนาให้มวลชนกลายเป็นปัจเจกบุคคลผู้ตื่นตัวทางการเมืองและดำรงอยู่ และการเลือกตั้งมีนาคมปี 2562 มวลชนคนเสื้อแดงเข้มข้นหลายกลุ่มยังคงตื่นตัวและมีส่วนร่วมทางการเมืองต่อไป โดยมิได้จำกัดเพียงกับพรรคเพื่อไทยเท่านั้นแต่ขยายการมีส่วนร่วมไปยังพรรคอนาคตใหม่และกิจกรรมทางการเมืองในการต่อต้านการปกครอง โดยรัฐบาลทหารอีกด้วย ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัยนี้ ทำให้เข้าใจถึงยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีในการสร้างกรอบโครงความคิดทางการเมือง และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมอันเป็นผลให้คนเสื้อแดงเกิดความตื่นตัวทางการเมืองและจนทำให้คนเสื้อแดงลุกขึ้นมามีปฏิบัติการทางการเมืองในช่วงเวลาที่ผ่านมา

  • Abstract
  •         The objectives of this study are to examine the framing process which contributes to the political awareness among red-shirt supporters and analyze the struggle to construct, alter, and reproduce the political frames of the Red Shirt Movement through qualitative research methods. This study reviewed and analyzed the data by utilizing framing theory as a fundamental tool to build a better understanding of the movement, which is achieved and presented through descriptive analysis. The data were collected from Red Shirt supporting groups in Mueang Khon Kaen District, Khon Kaen Province since the September 19 coup d’état in 2006 up until the March 24 general election in 2019., The research findings illustrate two important findings. First, the constituents of the movement have selectively adopted the frames, which corresponds to their individual experience, assessed on the basis of the actualities of the political society. Secondly, the constructed frames were not received without scrutiny, as seen from the struggle to reshape the presented frames, leading to an increased intensity of engagement among red-shirt supporters. Thirdly, in the wake of the 2014 coup d’état Thailand’s political context reverted to that of dictatorship. Despite the Red Shirt Movement itself, upon facing multiple obstructions, being forced to cease activity, the integrated framing process has had an impact on the transformation of the adherents into prevailing individuals with political awareness. During the March 24 general election in 2019, many of the radical red-shirt supporting groups were still politically active and engaged, albeit with extended affiliation, beyond the Pheu Thai Party, with the Future Forward Party and political rallies against the military-backed government. The expected benefits of this research are an insightful understanding on the strategies involved in the act of expanding political frames and a better grasp of the political engagement, which has engendered political awareness and activity among red-shirt supporters over the past years.

    Download Full Paper: