Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

ผลกระทบการท่องเที่ยวจากวัฒนธรรมกระแสนิยมของละครที่ถ่ายทำในจังหวัดเชียงใหม่
Tourism Impacts of Pop Culture through Series Taken in Chiang Mai

[เปิดดู 93 ครั้ง]

อรไท ครุธเวโช, ณัฐิกา ทานนท์, ศุภรัตน์ หาญสมบัติ, กุลทิราณี บุญชัย และ วรพจน์ ตรีสุข

  • บทคัดย่อ
  •        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกผลกระทบการท่องเที่ยวจากวัฒนธรรมกระแสนิยมของละครที่ถ่ายทำในจังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อศึกษาแนวทางในการจัดการผลกระทบการท่องเที่ยวจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของจังหวัดเชียงใหม่ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงผสานวิธีโดยใช้เครื่องมือทั้งเชิงปริมาณโดยแบบสอบถามและเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ชุมชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ที่เคยมีการถ่ายทำละคร จำนวน 380 คน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภาครัฐและภาคเอกชนจำนวน 9 คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลที่ได้จากการวิจัยพบว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจด้านบวกทำให้คนในชุมชนมีรายได้จากการที่นักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวตามสถานที่ที่มีการถ่ายทำละครและทำให้เศรษฐกิจภายในชุมชนดีขึ้น และพบว่า มีผลกระทบทางลบในด้านเศรษฐกิจน้อยสำหรับผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรมด้านบวกเป็นการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีอยู่แล้วดั้งเดิมให้กับบุคคลภายนอกที่ยังไม่รู้จักวัฒนธรรมของชุมชน และผลการศึกษาพบว่ามีผลการะทบด้านลบน้อย แต่อาจเกิดการเข้าใจผิดต่อวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตหากมีการนำเสนอที่ไม่ถูกต้องในละคร สำหรับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมด้านบวกพบว่าทำให้ชุมชนมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้น และยังมีการพัฒนาบริเวณแหล่งท่องเที่ยวที่ใช้ถ่ายทำละครให้ดีขึ้นแต่ควรป้องกันผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ขยะ มลภาวะและการจราจร ประโยชน์ที่ได้รับจากกการวิจัยคือแนวทางเชิงนโยบายในการจัดการผลกระทบจากการท่องเที่ยวตามวัฒนธรรมกระแสนิยมที่สอดคล้องกับ SDGs ประกอบด้วย 1)ภาครัฐควรมีนโยบายรับมือกับผลกระทบจากวัฒนธรรมกระแสนิยมของละคร 2) ภาครัฐควรมีการสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสถานที่ท่องเที่ยวในชุมชน 3) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยควรส่งเสริมให้มีสินค้าและบริการด้านวัฒนธรรมกระแสนิยมในด้านบวกมากขึ้น และ 3 แนวทางเชิงปฏิบัติ คือ 1) ผู้ที่จะทำการถ่ายทำภาพยนตร์และละครควรมีการตรวจสอบบทบรรยายเรื่องรวมทั้งแบบฉากและเครื่องแต่งกายของผู้แสดงให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของสถานที่นั้นๆ 2) วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ควรตรวจสอบเนื้อหาของบทละครในเรื่องของวัฒนธรรมของจังหวัดก่อนจะอนุญาตให้ถ่ายทำและ 3) ผู้ที่จะทำการถ่ายทำภาพยนตร์ ละคร มิวสิควิดีโอต่างๆ ควรศึกษาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับสถานที่นั้นๆ ด้วย

  • Abstract
  • This research aims to classify the impacts of pop culture on tourism through drama series that were taken in Chiangmai. Furthermore, following the Sustainable Development Goals (SDGs) the project aims to explore directions to sustainably manage the impact of tourism as reflected by local stakeholders, in . The research methodology applying in this project including mixed methods: quantitative and qualitative techniques, with questionnaire surveys and in-depth interviews. The samplings population was 380 local community representatives living around the local neighborhoods in Chiangmai, including nine in-depth interviews with direct stakeholders from the public and private sectors. The key findings highlighted the positive economic impacts that allow the locals gain additional income from increasing number of tourists in the area. Furthermore, the results also present an interesting issue that is less negative economic impact. The socio-cultural impacts were considered positives because the series production helps promote local culture to the to outsiders. As such, however, some misunderstanding of local culture and their heritage could occur and it results to misrepresented information in the series. The positive environmental impacts inspire the community to develop the infrastructures and physical facilities. The research finding also suggest some measures to prevent the potential negatives of such as litter, pollution and traffic must be taken. The research contributions can be developed into the policy implementations for managing the impacts of pop culture tourism as following the SDGs. The policy implementations were included1) the government should create proactive policy by to cope with impacts of pop culture tourism; 2) the government officials should support and encourage local community engagement, who can collaboratively protect tourist attractions in the area;3) the Tourism Authority of Thailand (TAT) should support and promote  products and services, which are produced by the influences of pop culture tourism. This research project also proposes three operational suggestions including 1) filmmakers and series-makers should proof-read and check the series plays, scenes and costumes in order to obtain the authenticity of local settings, 2) the Provincial Culture Office should check and consider the series contents before approving it and 3) the series makers or filmmakers should study and examine the possible impacts from shooting series production that could affect the local areas.      

    Download Full Paper: