Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

แนวทางการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวอุทยานธรณีโลกสตูลเพื่อ ยกระดับการพัฒนา พื้นที่จังหวัดสตูลภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
Guidelines for enhancing the tourism markets in Satun UNESCO Global Geopark in the collaborations with government and private agencies

[เปิดดู 73 ครั้ง]

ดนุวัศ สุวรรณวงศ์

  • บทคัดย่อ
  •        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพทางการตลาดและความต้องการของนักท่องเที่ยว รวมทั้งแนวทาง การพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวอุทยานธรณีโลกสตูล ใช้วิธีการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากร ได้แก่ นักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานธรณีโลกสตูล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเพื่อขอความเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานธรณีโลกสตูล จำนวน 384 ตัวอย่าง และใช้แบบสัมภาษณ์ผ่านการสัมภาษณ์ เชิงลึกและการจัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการจากผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) อุทยานธรณีโลกสตูลมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพทางการตลาดส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง แต่เมื่อพิจารณาจากองค์ประกอบและทรัพยากรการท่องเที่ยว พบว่า ยังมีปัญหาเรื่องระบบขนส่งสาธารณะในการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว 2) ความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวอุทยานธรณีโลกสตูล ทั้งด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านบุคลากร อยู่ในระดับมากทุกด้าน 3) แนวทางการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวอุทยานธรณีโลกสตูลเพื่อยกระดับการพัฒนาพื้นที่จังหวัดสตูลภายใต้ความร่วมมือกันของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ประกอบด้วย 1) การร่วมกันปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว 2) การร่วมกันเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย 3) การร่วมกันสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์และสร้างการรับรู้ในแบรนด์ ซึ่งผลจากการศึกษาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการยกระดับการพัฒนาพื้นที่จังหวัดสตูลภายใต้ความร่วมมือกันของหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนภายใต้ความเป็นอุทยานธรณีโลกและนำไปสู่การพัฒนาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอุทยานธรณีโลกสตูลให้มีความยั่งยืนต่อไป

  • Abstract
  •         The study aims to investigate the potential of tourism marketing and tourists’ needs, as well a guidelines for enhancing tourism marketing in Satun UNESCO Global Geopark. Both quantitative and qualitative research methods were deployed for data collections. There are 389 tourists answered the questionnaires, including in-depth interviews and a workshop with local government and private representatives. The data taken from questionnaires were analyzed by statistical method. An inductive analysis was conducted on the in-depth interview and the data obtained from the workshop with the representatives. The results showed that: 1) Satun UNESCO Global Geopark’s tourism marketing has an incredible potential of tourism marketing. However, tourism’s elements and resources are limited due to the public transportation to various tourist attractions is still remains problematic. 2) The tourists’ needs including products, prices, channels of distribution, marketing promotion, service processes, natural attraction as well as personnel factors reachedhighly demand. 3) guidelines for enhancing the tourism marketing in Satun UNESCO Global Geopark with local government and private representatives are consisted of three elements: firstly, improving the tourism products; secondly, increasing the distribution channels; and thirdly, creating the brand image and awareness. The findings do not only contribute to the sustainable development of Satun UNESCO Global Geopark, but also provide guidelines for effective cooperation between government and private agencies to sustainably develop the tourism management.

    Download Full Paper: