Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา เครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนจันทบุรี
Community Potential Development for Sustainable Tourism Management a Case Study of Tourism Network By Chanthaburi Community

[เปิดดู 76 ครั้ง]

นิสากร ยินดีจันทร์, ภูริพัฒน์ แก้วตาธนวัฒนา และ สันดุสิทธิ์ บริวงษ์ตระกูล

  • บทคัดย่อ
  •         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท การมีส่วนร่วม และแนวทางการพัฒนาศักยภาพ ในการจัดการท่องเที่ยวของเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนจันทบุรี วิธีการวิจัยเแบบผสมผสาน เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักท่องเที่ยวจำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม จากนั้นศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มกับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้นำชุมชน จำนวน 7 คน เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการท่องเที่ยว โดยใช้วิธีสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ด้านบริบทการจัดการท่องเที่ยวของเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนจันทบุรี เริ่มจากเกิดปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ นำไปสู่การจัดการท่องเที่ยวผ่านกระบวนการวิจัย โดยชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเองทั้งหมด เน้นการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ผสมผสานกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ รวมถึงการท่องเที่ยวที่เป็นวัฒนธรรม ประเพณีของชุมชน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนจันทบุรี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านแหล่งท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนจันทบุรี อยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านราคา ด้านสถานที่ ด้านการส่งเสริมการตลาด เรียงตามลำดับ ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวที่เหมาะสม มีความตระหนักในความเป็นเจ้าของพื้นที่ ร่วมประชุม วางแผนควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับองค์กรเครือข่าย และแนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวของชุมชน พบว่า 1. ด้านแหล่งท่องเที่ยว ชุมชนมีการจัดสรรสิ่งที่มีอยู่นำไปใช้ในการจัดการท่องเที่ยวให้เกิดประโยชน์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวเกิดความประทับใจ และอยากกลับมาเยี่ยมเยือนสม่ำเสมอ 2. ด้านราคา ยึดแนวทางเพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในส่วนของชุมชนและนักท่องเที่ยว การได้รับบริการที่ดี คุ้มค่ากับการมาท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดเป็นการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน 3. ด้านสถานที่ มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ เพื่อรองรับความต้องการของนักท่องเที่ยวทุกเพศ ทุกวัย คำนึงถึงความปลอดภัย ความสะดวกของการเดินทางท่องเที่ยว  มีเครือข่ายประสานความร่วมมือในการจัดการท่องเที่ยวระหว่างชุมชนด้วยกัน 4. ด้านการส่งเสริมการตลาด มีการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวผ่านช่องทางการสื่อสารที่ทันสมัย เช่น เว็บไซต์ อินเทอร์เน็ต เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย ได้แก่ แนวทางการพัฒนาศักยภาพชุมชนไปสู่การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน

  • Abstract
  •        The objective of this research were  too study the context, participation, and development’s direction for improving the capacity to manage tourism management of tourism network, which was organized by  Chanthaburi community.The research methodology were integrated between the quantitative and qualitative approaches, which were included questionnaires and a group of samplings of 100 tourists. Thequalitative research was included in-depth interview and group discussion. With the sample group from 14 community leaders and tourism network leaders asking about the potential of community development in tourism management by using the specific random method. The statistics analyzing  the data were included percentage, mean, standard deviation with content analysis methods.  The result showed that the tourism management as operated by the tourism network in Chanthaburi community started by the problem of falling agricultural product prices leading to tourism management through conducting research. With this type of tourism,  the community can participates and manage the entire process. The results also suggested that  the community network also focused on agricultural tourism, combined with ecotourism Including cultural tourism community traditions. The sampling group  satisfied with the tourism management of Chanthaburi community as indicated by a medium level. While considering the tourist attraction’s aspect, the informants satisfied with the tourism management of Chanthaburi communityat a high level. Themedium level of satisfaction represented toprice, location, marketing promotion. In addition, the research findings also suggested that the communities participated in tourism management with appropriateness, awareness of ownership which motivated the community participate and engage with meeting and planning along with the conservation of natural resources and the environment by utilizing network organizations. Furthermore, the directions to develop the community’s potential for tourism management’s were depended on the following aspects. First,  ifor the aspect of tourist attractions, the community should allocate the existing resources for the tourist management in order toimpress tourists and maintain their customer loyalty. Second, for the price issue, the community should follow some directions to make benefit and contribute it to the community and tourists. By this means, the community and tourists can receive good service with valuable and sustainability. For the place issue, the community accommodated and deliver service as needed by different age-ranges and genders of tourists with concerning of convenience while travelling as well as the collaborative network managing tourism between the communities.   Finally, in order to promote tourism market with following tourists’ behaviors, the promotion should be popularized through modern communication channels, such as internet, websites, in order to be in line with the behavior of tourists. Theresearch’s contribution can be used as the guidelines for the development of community potential that allowed the communities to manage their sustainable tourism. 

     

    Download Full Paper: