Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณการก่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของลูกหนี้ในความดูแลของสำนักธุรกิจลูกหนี้ผู้ประกอบการธนาคารแห่งหนึ่งในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา

[เปิดดู 66 ครั้ง]

นริสรา อุปชาบาล และ อนงค์นุช เทียนทอง

  • บทคัดย่อ
  •        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อปริมาณการก่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของลูกหนี้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสร้างแบบจำลองในการพิจารณาคัดกรองแบ่งกลุ่มลูกหนี้จากปัจจัยที่ทำการศึกษาแล้วว่ามีความสัมพันธ์กับปริมาณการก่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของลูกหนี้ในความดูแลของสำนักธุรกิจลูกหนี้ผู้ประกอบการธนาคารแห่งหนึ่งในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ในการวิจัยครั้งนี้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากฐานข้อมูลลูกหนี้ของสำนักธุรกิจลูกหนี้ผู้ประกอบการธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยเฉพาะของลูกหนี้ ณ ปัจจุบัน โดยใช้วิธีการการวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) เพื่อลดจำนวนตัวแปรหลายๆ ตัวให้อยู่ในกลุ่มหรือปัจจัย (Factor) เดียวกัน โดยการนำตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กันไว้ในปัจจัยเดียวกัน จากนั้นนำค่าปัจจัยที่ได้มาใช้ในการวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม (Discriminant Analysis) เพื่อจัดกลุ่มลูกหนี้ ผลการวิจัยพบว่า 1) จากกการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ พบว่า ตัวแปรต้นที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณการก่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ได้แก่ ขนาดของธุรกิจ ภาวะอุตสาหกรรมจัดโดยธนาคาร กำไรขั้นต้นบวกค่าเสื่อมราคา (ร้อยละ) กำไรสุทธิ (ร้อยละ) ระยะเวลาในการเก็บหนี้ (วัน) และความคงที่ของการเติบโต ทำให้ตัวแปรต้นทั้ง 6 ตัวนี้ สามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรตามได้ร้อยละ 26.90 2) ค่าสัมประสิทธิ์จากคะแนนปัจจัยที่ได้จากการวิเคราะห์การถดถอย สามารถนำมาเขียนสมการถดถอยของแต่ละปัจจัยได้ องค์ประกอบปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการก่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ มี 2 องค์ประกอบหรือ 2 ปัจจัย โดยแต่ละองค์ประกอบ ประกอบด้วยตัวแปรต่างๆ ไม่เท่ากัน โดยองค์ประกอบทั้ง 2 อธิบายความแปรปรวนของตัวแปรทั้งหมดได้ 16.28 และ 10.99 ตามลำดับ และผลที่ได้จากการศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นระบบการวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกหนี้ เพื่อไม่ให้เป็นลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้และลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ โดยฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์และฝ่ายบริหารอาจจะสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีความเหมาะสมเพื่อนำเสนอลูกหนี้

  • Abstract
  •        This research aimed to examine factors that affect the non-income debt amounts of the Small and Medium Enterprises (SMEs)’ debtors. Moreover, this project intended to create a model for the consideration of screening and cluster the debtor groups based on factors that relate to the non-income debt amounts of the debtors as controlled by a bank’s the business office of entrepreneurial debtors in Nakhon Ratchasima. This research collected secondary data from the debtor database of a commercial bank’s the busines office of entrepreneurial debtors in the Nakhon Ratchasima, including both quantitative and qualitative data of specific current debtors.  Factor analysis is applied to reduce the multiple variables into the same group or factor by grouping the relative variables into the same factor and then used such calculated scale for processing the discriminant analysis to classify the debtors. The research findings presented that 1) from the analysis of multiple regression indicated that the controlled variables, such as the size of the business, industrial conditions as organized by the banks, gross profit plus depreciation cost (percentage), net profit (percentage), debt collection period (days) and steady growth, correlated with the amount of non-income debts. The six variables can explain the variance of the variables at 26.90%. 2) The coefficient's rate from factor scores which were obtained by the regression analysis can be used to write regression equation value of each factor. Elements and factors that affect the non-income debt amounts were depended on two elements or two factors and each of them were comprised by different variables. The two factors can be explained by the variance of all variables at 16.28 and 10.99, respectively. The research results can be applied to the debtors’ behaviors and thus introduced them how to avoid being the non-income debtors, as well as decrease the costs of the non-income debt management. By this means, product developers and administrative team might create the new product that is appropriate for the debtors. 

    Download Full Paper: