Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การขับเคลื่อนนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไปสู่การปฏิบัติ ในเขตเทศบาลนครสกลนคร
Driving the Policy on the Elderly Quality of Life Development Into Implementation in Sakon Nakhon Municipality

[เปิดดู 79 ครั้ง]

ปิยะนุช เรืองโพน, เตชทัช คลายโศกก์, วรเมธ ยอดบุ่น, ปณิธี การสมดี และ เพชรประกาย กุลตังวัฒนา

  • บทคัดย่อ
  •        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการขับเคลื่อนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไปสู่การปฏิบัติในเขตเทศบาลนครสกลนคร ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไปสู่การปฏิบัติ และแนวทางการพัฒนาการนำนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไปสู่การปฏิบัติ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มกับผู้บริหารระดับสูง เจ้าหน้าที่ แกนนำผู้สูงอายุ การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้สูงอายุ จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า การขับเคลื่อนนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไปสู่การปฏิบัติในเขตเทศบาลนครสกลนคร ประกอบด้วยการกำหนดภารกิจ การกำหนดนโยบายและแผน การนำนโยบายไปปฏิบัติ และการดำเนินโครงการและกิจกรรม ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไปสู่การปฏิบัติ ได้แก่ การติดตามและประเมินผลแบบเสริมพลัง การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย และการสนับสนุนทรัพยากรทางการบริหาร ยกเว้นสมรรถนะบุคลากรในนโยบายไม่ส่งผลต่อการนำนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไปสู่การปฏิบัติ  โดยตัวแปรสามารถร่วมกันทำนายผลการนำนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไปสู่การปฏิบัติได้ร้อยละ 65 แนวทางการพัฒนาการนำนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไปสู่การปฏิบัติ ได้แก่ การพัฒนาด้านการบริการสุขภาพ การพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อผู้สูงอายุ การสร้างเสริมอาชีพ การพัฒนาการเรียนรู้ผู้สูงอายุ และการพัฒนาบุคลากร

  • Abstract
  •       The objectives of this study aimed to investigate the policy implementation to develop the quality of life of the elderly in Sakon Nakorn Municipality (SNM). Secondly, in order to develop of the quality of life of the elderly in SNM, the study seeks for factors that affect to the policy implementation. The project also explores some guidelines for implementating policy through a mixed research method. A qualitative method is combining an in-depth interview and group discussion with senior executives officers, and leading elderly committees to obtain further in-depth information of the policy implementation. The quantitative method applies 400 questionnaires asking elderly people. The study analyzes the qualitative data with the content analysis. The analysis of quantitative data applies statistical methods including mean, standard deviation, Pearson’s product-moment correlation and multiple regression analysis. The study result suggests that the  policy implementation for improving the quality of life of the elderly in SNM involving task’s assignment, policy implementation, and project and activity operations. The study also discovers factors affecting the policy implementation for developing elderly’s life quality are included empowerment of following-up and evaluation, strategic planning, stakeholder engagement, and administrative resources’ support. For competencies of employees, the results did not suggest that such competencies effect to the policy implementation of the the elderly life quality’s development. These aforementioned factors can be collaboratively operated  with forecasting the result of the policy implementation of in development of quality of life of the elderly (65.00%). The findings reported here shed new light on guidelines for the implementation of policy in the development of quality of life of the elderly, such as various types of developments including health service, environment development for elderly, professional and employment for elderly, careers’ opportunities, elderly learning, and human resources.

    Download Full Paper: