Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

รูปแบบการพัฒนาผลผลิตด้านการวิจัยของครูในสถาบันการอาชีวศึกษา โดยประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลัง
A Research of Product Development Model for Teachers in Vocational Education Institution by Applying the Empowerment Evaluation

[เปิดดู 78 ครั้ง]

อโนทยา เรืองศรี, วรรณ์ดี แสงประทีปทอง, สมคิด พรมจุ้ย และ กานดา พูนลาภทวี

  • บทคัดย่อ
  •         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาผลผลิตด้านการวิจัยของครูในสถาบันการอาชีวศึกษาโดยประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลัง และประเมินผลการใช้รูปแบบฯ      วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการพัฒนาผลผลิตด้านการวิจัยของครูในสถาบันการอาชีวศึกษา โดยประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลัง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัย การวัดและประเมินผลจำนวน 5 คน และครูในสถาบันการอาชีวศึกษา จำนวน 193 คน ระยะที่ 2 การประเมินผลการใช้รูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถาบันการอาชีวศึกษา จำนวน 30 คน ผลที่ได้จากการวิจัย พบว่า รูปแบบการพัฒนาผลผลิตด้านการวิจัยฯ ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ ประกอบด้วย การพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัย และการประเมินแบบเสริมพลัง 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวิจัย และเพื่อเพิ่มปริมาณผลงานวิจัย 3) วิธีการประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลัง ประกอบด้วย การกำหนดพันธกิจ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวางแผนสำหรับอนาคต 4) ตัวชี้วัดคุณภาพของรูปแบบฯ  ประกอบด้วย ความเหมาะสมของรูปแบบ ความเป็นไปได้ของรูปแบบ ความถูกต้องของรูปแบบ  และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบฯ ที่พัฒนามีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้มีความถูกต้อง    มีประโยชน์  และการประเมินผลการใช้รูปแบบฯ พบว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยหลังการใช้รูปแบบฯ สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีเจตคติต่อการวิจัยหลังการใช้รูปแบบฯ สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบฯ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีทักษะในการปฏิบัติงานวิจัยหลังการใช้รูปแบบฯ อยู่ในระดับดี  ได้ผลงานวิจัย จำนวน 30 เรื่อง ซึ่งมีคุณภาพในระดับดี และครูมีทักษะการเขียนงานวิจัยอยู่ในระดับดีมากและดี มีจำนวนใกล้เคียงกัน ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย คือ สามารถนำรูปแบบฯ ไปใช้ในการพัฒนาครูในสถาบันการอาชีวศึกษาให้มีสมรรถนะด้านการวิจัยและสามารถทำวิจัยได้แล้วเสร็จอย่างมีคุณภาพ

  • Abstract
  •         The objectives of this research were to develop a research product development model for teachers in vocational education institutions by applying the empowerment evaluation; and to evaluate the results of using the research product development model. The research process was divided into two phases. The first phase was the development of a research product development model for teachers in vocational education institutions with the application of empowerment evaluation. The research samples using in the first phase were consisted of 5 experts with the specialization in research and evaluation and 193 teachers in vocational education institutions. The second phase covered the conduction of supplementary assessment with 30 samplings from vocational institution’s teachers. The research result  showed thatthe developed research product  model forvocational institutions’ teachers was consisted offour components:  1) principles of the model consisting of research competency development and empowerment evaluation; 2) the objectives of the model as for enhancing research competency and for increasing the number of research results; 3) the application of empowerment evaluation comprising the determination of mission, the data collection, and planning for the future; and  4) the quality indicators of the model consisting of appropriateness of the model, feasibility of the model, correctness of the model, and benefits of the model. The quality verification’ results of the model, which examined by the experts showed that the developed model was appropriate, feasible, correct, and beneficial. In addition, the evaluation of such developed model suggested the vocational teachers had the understanding about research significantly higher than their pre-try out counterpart knowledge with the statistical significance at.01 level. Furthermore, the post-try out attitudes about the teachers’ research were significantly higher than their pre-try out counterpart attitudes at .01 level of statistical significance.  The post-try out research conducting skill of the teachers was at the good level.  After the try-out, there were 30 research projects were written by the teachers with good quality level; and there were similar number of teachers, who had reached the level of research writing skill at “good” and “very good” were almost similar. The research’s ccontribution can be applied to utilize the model as for developing competencies and research quality of vocational  institutions’ teachers.

    Download Full Paper: