Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

แนวทางสำหรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์: การเพิ่มคุณค่าให้แก่ทรัพยากรทางวัฒนธรรม และธรรมชาติในเมืองรอง กรณีศึกษาจังหวัดจันทบุรี ประเทศไทย
Guidelines for the Creative Economy: Enhancing the Value of Cultural and Natural Resources in the Peripheral City, Chanthaburi province of Thailand

[เปิดดู 83 ครั้ง]

สหสัญญ์ สัจจกุลวนิชย์, ทิพวัลย์ ตั้งพูนทรัพย์ศิริ และ William Chapman

  • บทคัดย่อ
  •        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณค่าของทรัพยากรทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดจันทบุรี ทำความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างการใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในเมืองรองกับประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวที่ได้รับมาจากการทำงานร่วมกันแบบจตุภาคี และการสร้างสรรค์คุณค่าร่วมกัน และศึกษากรณีเปรียบเทียบการใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของเมืองอื่นๆ เช่น เมืองสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย และเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ซึ่งแม้ว่าจะมีปัจจัยด้านทรัพยากรทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ รวมทั้งปัจจัยด้านอื่นๆ ที่แตกต่างจากจังหวัดจันทบุรีซึ่งเป็นพื้นที่หลักในการวิจัยนี้  แต่กรณีของเมืองที่นำมาศึกษาเปรียบเทียบนี้เป็นตัวอย่างที่ดีที่สามารถแสดงออกถึงกระบวนการของทำงานร่วมกันแบบจตุภาคี และการสร้างสรรค์คุณค่าร่วมกัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นปัจจัยหลักของการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ในเมืองรอง วิธีวิจัยที่ใช้คือแบบผสมผสานระหว่างวิธีวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจค่าความเชื่อมั่นและความตรงเชิงเนื้อหาจากค่าดัชนีความสอดคล้องโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน  ส่วนแบบสัมภาษณ์จะเป็นแบบกึ่งมีโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักท่องเที่ยวที่แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติในจังหวัดจันทบุรีจำนวน 590 คน และผู้ให้สัมภาษณ์หลัก 20 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ตารางไขว้ และค่าสหสัมพันธ์  สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจะใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า จังหวัดจันทบุรี มีความพร้อมในด้านปัจจัยด้านทรัพยาการทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลาย และประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวยังจังหวัดจันทบุรี กับการใช้โมเดลเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่ประกอบไปด้วยการแสดงออกเชิงสร้างสรรค์ การประยุกต์ใช้เชิงสร้างสรรค์ และการใช้เทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์ มีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนั้นการศึกษาวิจัยครั้งนี้ยังพบว่า แนวทางสำหรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับทรัพยากรทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติในเมืองรองคือ การทำงานร่วมกันแบบจตุภาคีและการสร้างสรรค์คุณค่าร่วมกัน โดยมีมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นเป็นผู้ที่มีบทบาทหลักในการส่งเสริมทำงานร่วมกันและการสร้างสรรค์คุณค่าร่วมกันดังกล่าว

  • Abstract
  •         The objectives of this study were included three aspects. First, the research aimed to study the value of cultural and natural resources, which were established as the tourism places of Chanthaburi province. Secondly, the research intended to understand the relationship between the application of creative economy in the peripheral city and the tourists’ experiences which were derived by the collaboration (Quadruple Helix) and co-creation of value. Thirdly, the research examined the comparative case study of the application of creative economy in other cities such as Sawankhalok district, Sukhothai province and Khon Kaen Province.  Although the factors of cultural and natural resources and other factors of these cities were different from those of Chanthaburi Province, the comparative cases were considerably  good examples to exhibit the process of collaboration (Quadruple Helix) and co-creation of value that would be considered the core factors of creative economy in the peripheral city. The research method was the combination method between quantitative and qualitative approaches. The research instruments were questionnaires, which were tested for the scores of ‘reliability’ and for the Index of Item-Objective Congruence (IOC) by 3 experts and the interview questions that were made in the semi-structure.  The samples of study were 590 visitors, who visited at the cultural and natural tourism places of Chanthaburi Province with 20 key informants.  Statistics used in quantitative data analysis were mean, cross-tab analysis, and correlation analysis.  The qualitative method was applied upon the descriptive analysis.  The findings suggested that the cultural and natural resources of Chanthaburi were abundant and various  tourists’ experience in applying creative economy model  were comprised of creative expression, creative application, and creative technology, as indicating through a significant positive relationship (P <0.05). Additionally, this research revealed that the guidelines for creative economy enhancing the value of cultural and natural resources in the peripheral city were depended on the collaboration (Quadruple Helix) and co-creation of value. With this said, the local universities played key roles in supporting such collaboration and co-creation of value.

    Download Full Paper: