Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การพัฒนาทักษะการสร้างเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้ ทักษะการทำงานเป็นทีม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการวัดและประเมินผลการศึกษาของนิสิต โดยใช้แบบฝึกประกอบการจัดการเรียนรู้กับกลุ่มร่วมมือ แบบ Learning Together (LT)
The Development of Skills for Building Instruments of Students for Learning Assessment, Teamwork Skills and Learning Achievement in Measurement and Evaluation Educational Using Exercises of Learning Together (LT) Collaborative Learning Model

[เปิดดู 121 ครั้ง]

อพันตรี พูลพุทธา

  • บทคัดย่อ
  •       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะการสร้างเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้
    ของนิสิตที่เรียนโดยใช้แบบฝึกประกอบการจัดการเรียนรู้กับกลุ่มร่วมมือ แบบ LT (รูปแบบร่วมเรียนร่วมรู้) 2)
    เปรียบเทียบทักษะการสร้างเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้ ทักษะการทำงานเป็นทีม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิต
    ระหว่างก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกประกอบการจัดการเรียนรู้กับกลุ่มร่วมมือ แบบ LT กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่
    นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา ภาคเรียนที่ 2
    ปีการศึกษา 2561 จำนวน 21 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้
    มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.80) แบบประเมินทักษะการสร้างเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้
    มีอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.44-0.78 และความเชื่อมั่นทั้งฉบับตามวิธีการหาแอลฟา () ของครอนบาค เท่ากับ 0.91
    แบบวัดทักษะการทำงานเป็นทีม ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.38 – 0.87 และความเชื่อมั่นทั้งฉบับตามวิธีการหาแอลฟา ()
    ของครอนบาค เท่ากับ 0.96 และแบบทดสอบ ความยากง่าย ตั้งแต่ 0.33-0.76 อำนาจจำแนก มีค่าตั้งแต่ 0.24-0.71
    มีความเชื่อมั่น โดยวิธีการของโลเวท เท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
    และทดสอบค่า t (t-test for dependent samples)
          ผลการวิจัยพบว่า 1) นิสิตมีทักษะการสร้างเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้อยู่ในระดับสูง 2) ผลการเปรียบเทียบ
    พบว่า 2.1) นิสิตมีทักษะการสร้างเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้แบบฝึกประกอบการจัดการเรียนรู้                                                                             กับกลุ่มร่วมมือ แบบ LT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2.2) นิสิตมีทักษะการทำงานเป็ม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดย                                                                                  ใช้แบบฝึกประกอบการจัดการเรียนรู้กับกลุ่มร่วมมือ แบบ LT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3)
    นิสิตมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้แบบฝึกประกอบการจัดการเรียนรู้กับกลุ่มร่วมมือ แบบ LT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  • Abstract
  •        The objectives of the research were 1) to develop skills for inventing instruments of the university
    students using the learning exercises of LT (Learning Together) collaborative learning model 2) to compare
    skills including inventing instruments, teamwork skills, and learning achievement of the university students
    in “Measurement and Evaluation Educational” before and after using the learning exercises of LT
    collaborative learning model. The sample subjects of the study were twenty-one of undergraduate
    students at Mahasarakham University. They were selected by simple random sampling. The research
    instrument is consisted of lesson plans of LT collaborative learning model, which is by average
    appropriateness of the lesson plans was the highest level (X = 4.80); an assessment test of skills for
    inventing the instruments of learning assessment with 0.44-0.78 discrimination indices and 0.91 reliability
    index of Cronbach's alpha, an assessment test of teamwork skills with 0.38-0.87 discrimination indices and
    0.96 reliability index, and a test with 0.33-0.76 difficulty indices, 0.24-0.71 discrimination indices and 0.93
    reliability index of Lovett method. The statistics used were percentage, mean, standard deviation and t-
    Distribution (t-test for dependent samples).
            The research findings were as follows: 1) the skills of the students to build an instrument for
    learning assessment were high level. 2) Regarding the comparison of the research results, 2.1) the results
    revealed that the skills of the students to build an instrument for learning assessment after using the
    exercises of LT collaborative learning model were significantly higher than those of before using the
    exercises at the .05 level. 2.2) The results revealed that the teamwork skills after using the exercises of LT
    collaborative learning model were significantly higher than those of before using the exercises at the .05
    level. 2.3) The results revealed that learning achievement after using the exercises of LT collaborative
    learning model were significantly higher than those of before using the exercises at the .05 level.

    Download Full Paper: