Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

รูปแบบการบริหารจัดการกีฬาซอฟท์บอล
THE SOFTBALL ADMINISTRATIVE MODELS

[เปิดดู 91 ครั้ง]

ประวีณ สุทธิสง่า ธาวุฒิ ปลื้มสำราญ อนันต์ มาลารัตน์ และสุนทร แม้นสงวน

  • บทคัดย่อ
  •        การวิจัยในครั้งมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกีฬาซอฟท์บอล โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน
    แบบตัวหลักและตัวรองตามลำดับ เก็บข้อมูลจากกรณีศึกษาสโมสรกีฬาซอฟท์บอลที่ประสบความสำเร็จ 4 แห่ง ในลักษณะของ
    พหุกรณีศึกษา สัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างจากผู้บริหาร ผู้ฝึกสอน นักกีฬา และผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งหมด 31 คน
    เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการกีฬาซอฟท์บอล รวมถึงพัฒนารูปแบบด้วยเทคนิคการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จากผู้ทรงคุณวุฒิ 8
    คน ตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการกีฬาซอฟท์บอล โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 201 คน
    ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบสังเกตการฝึก
    และแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ มีวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา การสรุปอุปนัย
    การเปรียบเทียบความคงที่ของข้อมูล และ สถิติเชิงพรรณนา
            ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการกีฬาซอฟท์บอล ประกอบด้วย รูปแบบย่อยด้านการบริหารจัดการ
    เวลาจำนวน 12 ตัวชี้วัด รูปแบบย่อยด้านการบริหารจัดการวัสดุ อุปกรณ์กีฬา และสนามกีฬา จำนวน 12 ตัวชี้วัด ผลการประเมิน
    ความเหมาะสมของรูปแบบอยู่ในระดับมากในทุกรูปแบบย่อย และตัวชี้วัด

  • Abstract
  •        The purposes of this study were to develop a model for softball sport management by applying
    mixed methods with dominant and non-dominant variables. Data were collected from multiple case studies
    including four successful softball sports clubs. The semi-structured interviews were conducted with executive
    members, trainers, athletes and experts of totally thirty one interviewees to develop a management model
    for softball sports. The research methods also include the seminar of eight experts. The research instruments
    were included semi-structured interviews, training observation forms and assessment forms. The data analysis
    used content analysis techniques, inductive reasoning and comparisons of data stability and descriptive
    statistics.                                                                                                                                                                                                                                             The research tools have been applied to examine the suitable model for the softball sport
    management with the responsive informants including two hundred and one of the stakeholders, who were
    derived from multi-step sampling.The study shows that the softball management model was comprised of twenty-four indicators                                                           on human resources, twenty-eight indicators on budget management, twelve indicators on time management and
    twelve indicators on sports utility and arena—such evident indicate the high levels of appropriation.

    Download Full Paper: