Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ


[เปิดดู 86 ครั้ง]

องอาจ เจ๊ะยะหลี กฤตพร สินชัย

  • บทคัดย่อ
  •       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ให้ทราบถึงข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่เป็นหลักการ
    ในการนำมาใช้เป็นองค์ประกอบในการวินิจฉัยและใช้ดุลพินิจของตุลาการในการคุ้มครองสิทธิของผู้ที่อาจจะเดือดร้อ
    นหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้จากการกระทำในทางปกครองโดยให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 2)
    นำเอาหลักเกณฑ์มากำหนดเป็นแนวปฏิบัติ ในการวินิจฉัยถึงผู้อาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายคือ                                                        ตุลาการศาลปกครองนักกฎหมายภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนที่เคยยื่นฟ้องคดีปกครองโดยอ้างเหตุอาจจะเสียหาย ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก
    โดยมีผู้ช่วยนักวิจัยบันทึกข้อมูล และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์จัดกลุ่มหาความเที่ยงตรง (Validity)
    ในเชิงเนื้อหาแต่ละประเด็นข้อคำถามและดัชนีความสอดคล้องแต่ละข้อคำถามมีค่าระหว่าง 0.67 – 1.00
         ผลการวิจัยพบว่า หลักเกณฑ์ที่ตุลาการศาลปกครองใช้ประกอบการวินิจฉัยในความหมายของผู้ที่อาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายตามมาตรา 42
    วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 แบ่งออกเป็น 2 ประการใหญ่ คือ หลักเกณฑ์ทางข้อเท็จจริงและ                                               หลักเกณฑ์ทางข้อกฎหมาย หลักเกณฑ์ทางข้อเท็จจริงมีดังนี้ 1.1 ประเด็นที่นำมาฟ้องหากไม่มีการแก้ไขตามฟ้องจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างแน่แท้                                                 (ที่มิใช่การคาดเดา)1.2 ไม่มีทางเลี่ยง อื่นใด1.3 ข้อเท็จจริงแห่งคดีเป็นที่ประจักษ์ (พิจารณาแต่ละคดี)สำหรับหลักเกณฑ์ทางข้อกฎหมายมีดังนี้
    1.1มิใช่เป็นการฟ้องคดีละเมิดทางปกครอง ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3)1.2มิใช่เป็นการฟ้องคดีโต้แย้งสิทธิในสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา
    9 วรรคหนึ่ง (4)1.3ศาลออกคำบังคับตามมาตรา 72 ได้

  • Abstract
  • Download Full Paper: