Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การพัฒนาตัวบ่งชี้จริยธรรมการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล
The Development of Nursing Practice Ethics Indicators of Nursing Students

[เปิดดู 107 ครั้ง]

วิสัย คะตา วัลนิกา ฉลากบาง พรเทพ เสถียรนพเก้า และเอกลักษณ์ เพียสา

  • บทคัดย่อ
  •         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้จริยธรรมการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล 2) ทดสอบความสอดคล้อง
    ของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้จริยธรรมการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) พัฒนาคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้                                                        จริยธรรมการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล การดำเนินการมี 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่1 การกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย โดยศึกษาเอกสาร                                             งานวิจัย สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และการพัฒนาตัวบ่งชี้จริยธรรมการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล โดยสอบถามผู้เชี่ยวชาญ                                                จำนวน 21 คน ใช้เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง 3 รอบ ระยะที่ 2 การทดสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้จริยธรรมการปฏิบัติ
    การพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์พยาบาลและพยาบาลพี่เลี้ยง จำนวน 500 คน สุ่มแบบหลายขั้นตอน
    เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรมลิสเรล (LISREL)                                              และระยะที่ 3 การสร้างคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้จริยธรรมการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล ตรวจสอบความเหมาะสมของคู่มือโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน
             ผลการวิจัย พบว่า 1) ตัวบ่งชี้จริยธรรมการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก 18 องค์ประกอบย่อย 60 ตัวบ่งชี้
    จำแนกเป็น ความซื่อสัตย์จำนวน 9 ตัวบ่งชี้ ความรับผิดชอบจำนวน 9 ตัวบ่งชี้ ความมีวินัยจำนวน 9 ตัวบ่งชี้ การเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จำนวน 13 ตัวบ่งชี้
    การตัดสินปัญหาเชิงจริยธรรมจำนวน 10 ตัวบ่งชี้ และเจตคติต่อวิชาชีพการพยาบาลจำนวน10 ตัวบ่งชี้ 2) โมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้จริยธรรมการปฏิบัติการพยาบาล
    ของนักศึกษาพยาบาล มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( 2 =195.84, df = 284,  2 /df = .68, p-value = .66, GFI = .95, AGFI = 0.91,                                            RMSEA = 0.000, CN = 205.29) เมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักขององค์ประกอบเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) การเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
    (1.00) 2) ความมีวินัย (1.00) 3) ความซื่อสัตย์ (1.00) 4) เจตคติต่อวิชาชีพการพยาบาล (.99) 5) ความรับผิดชอบ (.98) 6)
    การตัดสินปัญหาเชิงจริยธรรม (.97) ตามลำดับ และ 3)

  • Abstract
  •      The research objectives were: 1) to develop indicators of ethical nursing practice; 2) to examine
    the consistency of the developed structural-ethical indicators’ model as for referring to ethical nursing
    practice indicators with the empirical data 3) to develop the handbook guiding how to applying the
    indicators of ethical nursing practice among nursing students. The study was conducted in three phases.
    The first phase aimed to develop a research conceptual framework by conducting literature review,
    interviewed seven experts, and developing the ethical nursing practice’ indicators of nursing students by
    interviewing twenty-one experts with conducting three rounds of modified Delphi technique. The second
    phase examined the consistency of structural ethnical indicators’ model applying for nursing , students
    practice with the empirical data. This research employed samplings with 500 nursing instructors and
    preceptors. The research instrument was also included five-level rating scaled questionnaires and the data
    analysis deriving from LISREL Program—a statistical modeling program as confirming factor analysis. The
    third phase developed the handbook of ethical indicators for nursing students and assured its accuracy
    and suitability by five experts.
    The finding were as follows: 1) The indicators of ethical nursing practice for nursing students
    consisted of six main elements, 18 sub-elements and 60 indicators, which were divided into 9 indicators of
    honesty, 9 indicators of responsibility, 9 indicators of discipline, and 13 indicators of respect for human
    rights, 10 indicators of ethics decision and 10 indicators of attitude toward nursing practice. 2) The
    confirmatory factor analysis model of indicators of ethical nursing practice of nursing students had
    goodness-of-fit with the empirical data ( 2 =195.84, df =284, p-value =.66, GFI =.95, AGFI = 0.91 RMSEA
    =0.000 , CN = 205.29). As for the arrangement of factor loadings of components in descending order, the
    results were as follows: 1) respect for human rights (1.00) 2) discipline (1.00) 3) honesty (1.00) 4) attitude
    toward nursing practice (.99) 5) responsibility (.98) 6) ethics decision(.97) and 3) The handbook of ethical
    nursing practice indicator as a whole were appropriate at the highest level. (=4.56 , S.D.=0.09)

    Download Full Paper: