Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้แบบ STAD ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
The Development of Learning Activities Using STAD Cooperative Learning Model Focusing on Problem Solving and Mathematical Connections Skills on Linear Equation with One Variable for Mathayomsuksa 1

[เปิดดู 111 ครั้ง]

ปรียา เปจะยัง นงลักษณ์ วิริยะพงษ์ และ มนชยา เจียงประดิษฐ์

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้แบบ STAD ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบ STAD กับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ 4) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหา และความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ระหว่างกลุ่มที่ใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้แบบ STAD กับแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 80 คน มีทั้งสิ้น 2 ห้องเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) แบ่งเป็น 2 ห้องเรียน ได้แก่ ห้องเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ STAD ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ และห้องเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STAD กับแบบปกติ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา และความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้แบบ STAD ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.70/81.87 และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.60/76.60 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ STAD มีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6284 และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ มีดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.5237     3) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ STAD  มีความสามารถในการแก้ปัญหา และความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ สูงกว่านักเรียนได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  • Abstract
  •      This research aimed 1) to develop lesson plan using STAD cooperative learning model focusing on mathematics problem solving skill and mathematical connection skill and lesson plan using the traditional teaching methods on a linear equation in one variable of mathayomsuksa 1 students to have the efficiency criteria of 75/75 2) to fine the effectiveness index value of lesson plan 3) to compare the learning achievement between the group using STAD cooperative learning model and the group using the traditional teaching methods 4) to compare ability on problem solving and ability on mathematical connection between the group using STAD cooperative learning model and the group using the traditional teaching methods. The sample groups used in this research were 80 students Mathayomsuksa 1 students of Lamplaimat School, Burirum Province which were divided into two groups by cluster random sampling. The first group was used STAD cooperative learning model focusing on Mathematics problem solving skill and mathematical connection skill. The second group used the traditional teaching methods. The tools used were lesson plan using STAD and lesson plan using the traditional teaching methods 2) Learning achievement test had 0.99 of the confidence value 3) The abilities of problem solving and mathematical connection test showed 0.80 of the confidence value.The results of the study were as follows 1) Lesson plan using STAD cooperative learning model focusing on mathematics problem solving skill and mathematical connection skill. on a linear equation in one variable had the efficiency 82.70/81.87, and lesson plan using the traditional teaching methods on a linear equation in one vVariable had the efficiency 80.60/76.60, which was higher than the required criteria. 2) Lesson plan using STAD cooperative learning had the effectiveness index value of learning was 0.6284 at lesson plan using the traditional teaching methods had the effectiveness index value of learning at 0.5237 3) A group of students using STAD cooperative learning model has reached the higher level of learning achievement than the group using the traditional teaching methods. They were statistically different  significant at .05 level. 4) A group of students using STAD cooperative learning model has shown the ability ofn problem solving and the mathematical connection, which is higher than the group using the traditional teaching methods with statistically different significant at .05 level.

     

    Download Full Paper: