Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การศึกษาการกำกับอภิปัญญาของของนักศึกษาวิทยาศาสตร์การกีฬา ในรายวิชาปฏิบัติการเคมีพื้นฐาน
A Study of Metacognitive Regulation of Sport Science Students in the Basic Chemistry Laboratory

[เปิดดู 90 ครั้ง]

วิทวัส หาญดี ธีรพัฒน์ ขันใจ, วนิดา ลำพล และ ศศิประภา วิลาวัลย์

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) สำรวจระดับการกำกับอภิปัญญา 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการกำกับ อภิปัญญากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) ศึกษาผลของพื้นหลังการศึกษา ที่มีต่อการกำกับอภิปัญญาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา ในรายวิชาปฏิบัติการเคมีพื้นฐาน กลุ่มเป้าหมายคือนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา ชั้นปีที่ 1 จำนวน 63 คน ในวิชาปฏิบัติการเคมีพื้นฐาน หัวข้อสมดุลเคมี เครื่องมือใช้คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ เพื่อวัดการกำกับอภิปัญญาที่เกี่ยวข้องกับ การวางแผน การควบคุม และการประเมินตนเอง มีดัชนีความสอดคล้อง 0.80-0.88 ร่วมกับการสังเกตพฤติกรรมในห้องปฏิบัติการ ผลที่ได้นำมาวิเคราะห์ทางสถิติเปรียบเทียบกับผลสอบและพื้นหลังทางการศึกษา โดยใช้ One-way ANOVA และ Factorial ANOVA analysis
    ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาส่วนใหญ่มีทักษะอภิปัญญาด้านการวางแผนที่ดี แต่ไม่สามารถนำแผนมาใช้จนบรรลุผลได้ ซึ่งสอดคล้องกับผลการสังเกตพฤติกรรมด้านอภิปัญญาด้านการควบคุมตนเองและการประเมินตนเองที่บกพร่อง 2) นักศึกษาส่วนใหญ่ประเมินและมีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองสูงเกินจริง แต่ความเชื่อมั่นนี้ไม่ส่งผลต่อคะแนนสอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 3) พื้นหลังการศึกษา ได้แก่ แผนการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาและวิธีการรับเข้าสอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสนับสนุนว่าในการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการทางเคมีให้แก่นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา ควรมีการกระตุ้นการกำกับอภิปัญญาด้านการควบคุมและการประเมินตนเองควบคู่ไปกับการปรับพื้นฐานทางวิชาการ

  • Abstract
  •     This study aimed to investigate 1) the metacognitive regulation, 2) the relationship of metacognitive levels and test scores, and 3) students’ background that might interfere with the regulation of metacognition in sports science students. The target group was 63 freshmen enrolled in the basic chemistry laboratory during the topic of chemical equilibrium.  The research instrument was a 4-scale metacognitive survey including 3 areas of metacognitive regulation: planning, monitoring, and evaluating with the item-objective congruence index score of 0.80-0.88. The survey data were evaluated with students’ behaviors via classroom observation and test scores using one-way ANOVA and factorial ANOVA analysis. The statistical results show that 1) most students have the ability in decent metacognitive planning. However, they largely failed to apply their plans successfully, which was agreed with their impaired metacognitive monitoring and evaluating. 2) The majority of the students are overconfidence in their ability. Nonetheless, the one-way ANOVA test showed that the level of self-evaluation and the exam scores were not statistically correlated. 3) The test scores were significantly different with the students’ high school backgrounds including educational plans and admission. The research finding suggested that metacognitive prompt about self-monitoring and self-evaluating along with a preparatory course should improve the learning outcome of sport science students in a chemistry laboratory class.

    Download Full Paper: