Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การรับรู้คุณค่าสุนทรียภาพทางศิลปะและการตระหนักถึงความสำคัญของชุมชนริมน้ำจันทบูร ผ่านประสบการณ์การรับรู้ของคนในชุมชน และนักท่องเที่ยว ในฐานะแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดจันทบุรี
The Perceived Aesthetics Value of Art and Recognizing the Importance of Waterfront Community Chantaboon through the Perceived Experience by the Community and Tourist as the Major Attractions of Chanthaburi

[เปิดดู 86 ครั้ง]

ธนวัฒน์ กันภัย และ เบญจพร ประจง

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การรับรู้คุณค่าสุนทรียภาพทางศิลปะ และการตระหนักถึงความสำคัญของชุมชนริมน้ำจันทบูรผ่านประสบการณ์การรับรู้ของคนในชุมชน และนักท่องเที่ยวในฐานะแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดจันทบุรี 2) แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมสุนทรียภาพทางศิลปะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักท่องเที่ยวย่านชุมชนริมน้ำจันทบูร จำนวน 300 คน ผู้ที่อาศัยและประกอบธุรกิจย่านชุมชนริมน้ำจันทบูร จำนวน 20 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรม จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามปลายปิด แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) และแบบสัมภาษณ์ปลายเปิด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปและความคิดเห็นการรับรู้คุณค่าของกลุ่มตัวอย่าง และใช้การวิเคราะห์เนื้อหาในการวิเคราะห์แบบสัมภาษณ์
         ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยว และผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมมีความคิดเห็นการรับรู้คุณค่าสุนทรียภาพทางศิลปะและการตระหนักถึงความสำคัญของชุมชนริมน้ำจันทบูรผ่านประสบการณ์การรับรู้ของคนในชุมชน และนักท่องเที่ยวในฐานะแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดจันทบุรีอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนผู้ที่อาศัยและประกอบธุรกิจย่านชุมชนริมน้ำจันทบูร อยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมสุนทรียภาพทางศิลปะ ด้านจุดมุ่งหมาย นำเสนอวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมและการผสมผสานวัฒนธรรมของคนในชุมชน ด้านการบริหารจัดการ คนในชุมชนมีส่วนเสริมสร้างสุนทรียภาพให้คงอยู่ ด้านกลุ่มเป้าหมาย คือนักท่องเที่ยวทุกคนโดยชุมชนต้องสร้างให้นักท่องเที่ยวได้รับรู้คุณค่าความงาม ด้านรูปแบบ เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต สภาพแวดล้อม และแสดงเอกลักษณ์ของชุมชน มีความงามที่สัมพันธ์สอดคล้องกันเพื่อสะท้อนจุดเด่นที่ชุมชนเคยเป็นมาและจะเป็นต่อไปในอนาคต ด้านการสร้างสรรค์ เน้นวิถีชีวิตกับสร้างแหล่งเรียนรู้จากพื้นที่เดิม จัดทำแผนที่ ชุมชนที่ครอบคลุมและน่าสนใจ โดยสื่อที่นำมาใช้มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับชุมชนเพื่อให้เกิดซึ่งสุนทรียภาพ

  • Abstract
  •      The purposes of this research were: 1) to study the value of artistic aesthetics and important recognition of Chanthaboon waterfront community as major tourist attraction in Chanthaburi through perceived experiences of the community residents and tourists 2) to investigate the tourism management’s guidelines for supporting the artistic aesthetics. The samples were 300 tourists who visited Chanthaboon waterfront community, 20 Chanthaboon waterfront residents and entrepreneurs together with 3 cultural experts. The research instruments were including close ended questionnaires, rating scale and    open-ended interviews.          The general data and opinion on perceived value of samples were analyzed by using the descriptive statistics; percentage, mean and standard deviation. The analysis was used for interviews’ data.
          The results of this research found that 1) tourists and cultural experts showed the highest perceived values of artistic aesthetics and important recognition of Chanthaboon waterfront community as major tourist attractions in Chanthaburi through perceived experiences of the community residents and tourists along with Chanthaboon waterfront residents and entrepreneurs revealed at the high level, 2) the tourism management guidelines for supporting the artistic aesthetics were revealed in the various aspects. The presentation on the traditional ways of community residents’ lives is shown in the objective aspect. In term of administrative management, the residents should be a part to strengthen and conserve the community aesthetics. The target group suggests that the community to stimulate the tourists in the Chanthaboon waterfront community for recognizing its important value. In the form aspect, the activities should be related to life style and surrounding. Also, the residents should acknowledge the community unique linked to the reality of community to display and remain the history of community. For creative aspect, it should be focused on the life styles of community residents, more learning resource managements to make a system of tourism management, creation of completing community map which is easy to understand and interesting by using the media related to the community environment to form the aesthetics.

    Download Full Paper: