Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การพัฒนารูปแบบการสอนดนตรีสำหรับวงดนตรีลูกทุ่งในโรงเรียนมัธยมศึกษา
The Development of Music Teaching Model forThai Folk Song (Luk Thung) Musical Band in Secondary School

[เปิดดู 100 ครั้ง]

จิรานุวัฒน์ ขันธจันทร์ พงษ์พิทยา สัพโส และพิทยวัฒน์ พันธะศรี

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนดนตรีสำหรับวงดนตรีลูกทุ่งในโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) ทดลองใช้และหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น 3) ประเมินคุณภาพและปรับปรุงรูปแบบการสอนให้สมบูรณ์ ใช้วิธีวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) การพัฒนารูปแบบการสอน 2) การประเมินคุณภาพและความเหมาะสมแล้วทดลองใช้ 3) การประเมินผลการทดลองใช้ และปรับปรุงให้สมบูรณ์ มีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มคือผู้สอนวงดนตรีลูกทุ่ง 5 คน เป็นผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ และวงดนตรีลูกทุ่งที่ใช้เป็นกลุ่มทดลอง 1 วง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ชุดได้แก่ 1) ชุดเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ  ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และ 2) เครื่องมือที่ใช้ทดลอง ได้แก่ รูปแบบการสอนดนตรีสำหรับวงดนตรีลูกทุ่งในโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีองค์ประกอบของรูปแบบการสอนครบถ้วน  แบบประเมินคุณภาพและความเหมาะสม และแบบประเมินพัฒนาการทักษะของผู้เรียน  แบบประเมินความคิดเห็นที่มีต่อคุณภาพของรูปแบบการสอน  
        ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการสอนดนตรีสำหรับวงดนตรีลูกทุ่งในโรงเรียนมัธยมศึกษานั้นนำเสนอได้ใน 2 ลักษณะ  คือ รูปแบบเชิงภาษา และรูปแบบเชิงแผนผัง โดยมีกระบวนการของรูปแบบทั้งหมด 7 ขั้น คือ 1. การมองและกำหนดเป้าหมาย ในการจัดการเรียนการสอนดนตรีลูกทุ่ง 2. ทำความเข้าใจแล้วออกแบบแผนและวิธีการสอน 3. การจัดการความสัมพันธ์องค์ประกอบของแผนและวิธีการสอน 4. นำไปสู่การปฏิบัติ 5. การปรับปรุงแก้ไขปัญหา 6. การนำรูปแบบใหม่ที่ได้ปรับปรุงมาใช้ 7. การสะท้อนกลับของข้อมูลทั่วไป องค์ประกอบของรูปแบบการสอน ได้แก่ คู่มือสำหรับรูปแบบ  แบบฝึกทักษะทางดนตรีกลุ่มเครื่องเป่า แบบฝึกทักษะทางดนตรีกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะ  แบบประเมินพัฒนาการทักษะทางดนตรีของผู้เรียน 2) ผลการทดลองใช้และหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น การประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมากที่สุด (= 4.68 S.D.= 0.46) ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนโดยประเมินพัฒนาการทักษะทางดนตรีของผู้เรียน พบว่า พัฒนาการของผู้เรียนอยู่ในระดับมากที่สุด (= 17.40 S.D.= 5.57) และ 3) ผลการประเมินผลการทดลองใช้โดยความคิดเห็น ของครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการสอนในด้านคุณภาพว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.88 S.D.= 0.33) จากผลการทดลองใช้สามารถสรุปผลการประเมินได้ว่ารูปแบบการสอนดนตรีที่พัฒนาขึ้นนั้นมีคุณภาพและมีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนดนตรีลูกทุ่งได้ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์ทั้งในด้านกระบวนการ ด้านเนื้อหา  และองค์ประกอบของรูปแบบให้สมบูรณ์เพื่อให้สามารถใช้ในการจัดการเรียนการสอนดนตรีลูกทุ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • Abstract
  •      The purposes of this study were 1) to develop a music teaching model for Thai folk song (Luk Thung-hereafter) musical band in secondary school; 2) to try out and determine the efficiency of the developed teaching model; and 3) to evaluate the quality and improve the model to be completed. The study employed research and development (R&D) approach which was divided into three phrases included 1) developing the teaching model, 2) evaluating the quality and appropriateness of the developed model and trying out and 3) evaluating the result from the try out and improving the model. The samples were divided into two groups. The first group consisted of five Luk Thung musical band teachers who provided the qualitative data and the second group was a Luk Thung musical band as an experimental group. The research tools for collecting the qualitative data were interview and observation form and the quantitative data were gathered from the completed music teaching model for Luk Thung musical band in secondary school, a model’s quality and appropriateness assessment form, a development of students’ learning skill assessment form and an evaluation form concerning the opinions towards the quality of the developed model.
         The results of the study suggested that: 1) the teaching model for Luk Thung musical band in secondary school can be demonstrated with two main principles: semantic model and schematic model. These principles comprised seven processes which were goal setting in teaching and learning management of Luk Thung music, comprehending the context and designing teaching plan and method,  managing and relating instructional components within teaching plan and method, applying the teaching model, improving the teaching model based on problems, executing the improved model, and reflecting of general information. The components of the teaching model included manual for the teaching model, exercises for wind instruments, exercises for percussion instruments and the development of students’ learning skills assessment form, 2) the result from the try out and efficiency determination of the developed model indicated that the model was found to be at the highest level in terms of appropriateness of model execution (x̄ = 4.68, S.D. =0.46).  In addition, the evaluation of the development of students’ learning skills after learning with the developed model indicated that the average score of leaners was found at the highest level  (x̄ = 17.40, S.D. = 5.57). Likewise, and 3) the result of teachers’ opinion towards the quality of the developed model was found at the highest level (x̄= 4.88, S.D. = 0.33);the result from the try out suggested that the developed teaching model was qualified and appropriate to be efficiently implemented in the teaching and learning of Luk Thung music as it was improved to be completed in terms of teaching process, contents and other components.

    Download Full Paper: