Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างโมเดลการวัดการแสวงหาความรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
Construct Validity Verification of the Model on Measuring Knowledge Inquiry among Lower Secondary School Students In the Educational Opportunity Expansion Schools

[เปิดดู 451 ครั้ง]

ชฎาพร ขุขันธิน กาญจนา สุจีนะพงษ์ และจำลอง วงษ์ประเสริฐ

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการแสวงหาความรู้ของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 2)  เพื่อพัฒนาองค์ประกอบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการแสวงหาความรู้ของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 900 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ประมาณค่า 5 ระดับ มีความตรงเชิงโครงสร้าง (ค่าดัชนีความสอดคล้อง: IOC) เท่ากับ 0.96 และความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.94 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบการแสวงหาความรู้ของนักเรียน จากการวิเคราะห์เอกสาร งานวิจัย การสังเคราะห์องค์ประกอบการแสวงหาสารสนเทศ Big6 ตามแนวคิด Eisenberg ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ การกำหนดภาระงาน การกำหนดกลยุทธ์การแสวงหา การระบุแหล่งการเข้าถึง การใช้สารสนเทศ การสังเคราะห์สารสนเทศ การประเมินผลลัพธ์และกระบวนการ 2) การพัฒนาองค์ประกอบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการแสวงหาความรู้ของนักเรียน เป็น 2 ระดับ ตัวแปรระดับห้องเรียน ได้แก่ การจัดกระบวนการเรียนรู้ของครู บรรยากาศในชั้นเรียน ตัวแปรระดับนักเรียน ได้แก่ เจตคติต่อการแสวงหาความรู้ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การส่งเสริมของผู้ปกครอง ผลการวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการแสวงหาความรู้ของนักเรียน พบว่าค่าดัชนีความสอดคล้องของโมเดลมีค่าเป็นไปตามเกณฑ์ดังนี้    = 5.05, df = 5, P-value = 0.41, CFI = 1.00, TLI = 1.00, RMSEA = 0.01, SRMR = 0.01 และ / df = 1.01 สรุปได้ว่าองค์ประกอบการแสวงหาความรู้ของนักเรียนที่พัฒนาขึ้นมีความตรงเชิงโครงสร้าง

  • Abstract
  •     The purposes of this study were: 1) to examine the elements of knowledge inquiry among lower secondary school students in the educational opportunity expansion schools, 2) to develop the elements of factors that influence the knowledge inquiry among lower secondary school students in the educational opportunity expansion schools. The sample was 900 students obtained by using multi-stage random sampling. A 5-level rating scale questionnaire was used for data collection which had construct validity (IOC) value of 0.96 and reliability coefficient of 0.94. The collected data were analyzed using descriptive statistics; and confirmatory factor analysis (CFA) was used to verify the construct validity. The findings disclosed as follows. 1) The factors of knowledge inquiry among students were obtained by analyzing documents and research. The synthesis of the elements of inquiring about the Big 6 information – an approach developed by Eisenberg, consists of the Big 6 skills: 1) task definition, 2) info seeking strategies, 3) location & access, 4) use of information, 5) synthesis, and 6) evaluation. 2) The development of the elements of factors which affect students’ knowledge inquiry can be divided into 2 levels: classroom level – organizing learning processes by teachers, and classroom climate; student level – attitude towards knowledge inquiry, achievement motivation, and promotion of parents. The results of analyzing construct validity of the model on measuring knowledge inquiry among students found that the goodness-of-fit index values of the model were displayed as follows:  = 5.05, df = 5, P-value = 0.41, CFI = 1.00, TLI = 1.00, RMSEA = 0.01, SRMR = 0.01  / df = 1.01. It can be concluded and confirmed that the developed elements of knowledge inquiry among students had construct validity.

    Download Full Paper: