Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

รูปแบบการจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ กรณีศึกษา ชุมชนบ้านหนองข่า ตำบลประชาพัฒนา อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
Model of Spatial Data Management: Case Study of Ban Nongkha Community, Pracha Phatthana Sub-District, Wapi Pathum District; Mahasarakham Province

[เปิดดู 228 ครั้ง]

ชนะชัย อวนวัง

  • บทคัดย่อ
  • การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ตามทฤษฎีใหม่ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาชุมชนบ้านหนองข่า ตำบลประชาพัฒนา อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม 2) พัฒนารูปแบบการจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ตามทฤษฎีใหม่ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) ประเมินรูปแบบการจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ตามทฤษฎีใหม่ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ตามทฤษฎีใหม่ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดำเนินการเป็น 4 ขั้นตอนตามกระบวนการ PAOR ของ Kemmis & Taggart ได้แก่ ขั้นที่ 1 การวางแผน (Planning) กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 20 คน จำแนกเป็น (1) ผู้นำชุมชน 10 คน (2) ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นคณาจารย์จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ 10 คน ขั้นที่ 2 การปฏิบัติการ(Action) กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 80 คน จำแนกเป็น (1) ผู้นำชุมชน 10 คน (2) สมาชิกในชุมชน 40 คน (3) ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นคณาจารย์จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ 10 คน และ (4) นักศึกษา 20 คน ขั้นที่ 3 การสังเกต (Observation) กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 80 คน คือ ผู้เข้าร่วมโครงการจากขั้นตอนที่ 2 และ ขั้นที่ 4 การสะท้อนความต้องการของชุมชน (Reflection) กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 40 คน จำแนกเป็น (1) ผู้นำชุมชน 10 คน (2) สมาชิกในชุมชน 10 คน (3) ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นคณาจารย์จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ 10 คน และ (4) เจ้าหน้าที่จากสำนักบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 10 คน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ตามทฤษฎีใหม่ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ใช้พื้นที่ จำนวน 2 งาน ขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบการจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ตามทฤษฎีใหม่ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นคณาจารย์ในคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและคณะครุศาสตร์ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง 7 คน เครื่องมือการวิจัยได้แก่ (1) แบบสัมภาษณ์ไม่มีโครงสร้าง (2) คู่มือการจัดการรูปแบบระบบพื้นที่เปิดและรูปแบบระบบพื้นที่ปิด และ (3) แบบประเมินรูปแบบการจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ตามทฤษฎีใหม่ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ( )  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

    ผลการวิจัยพบว่า วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ตามทฤษฎีใหม่ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนย่อยคือ (1) ขั้นการวางแผน ต้องมีความสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน (2) ขั้นการปฏิบัติ ต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมด้วยกัน  (3) ขั้นการสังเกต ต้องมีการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้นำชุมชนและสมาชิกในชุมชน กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมและ (4) ขั้นการสะท้อนความต้องการของชุมชน ต้องสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นในสภาพจริง การแก้ไขปัญหาในสภาพจริง และการสะท้อนปัญหาใหม่คือ ความต้องการใช้เทคโนโลยีในการจัดการระบบปลูกพืชในพื้นที่เศรษฐกิจพอเพียง วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดการข้อมูลตามทฤษฎีใหม่ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประกอบด้วย 2 รูปแบบคือ (1) รูปแบบระบบพื้นที่เปิด (ระบบ IoT)  และ (2) รูปแบบระบบพื้นที่ปิด (ระบบอัตโนมัติ) และวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 ผลการประเมินรูปแบบการจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ตามทฤษฎีใหม่ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.58, S.D. = 0.50)

  • Abstract
  •      The Research purposes were 1) to study needs to develop a model of Spatial Data Management according to the new theory of Sufficiency Economy Philosophy for a case Study of Ban Nongkha Community, Pracha Phatthana Sub-District, Wapi Pathum District; Mahasarakham  Province. 2) to develop a model of Spatial Data Management according to the new theory of Sufficiency Economy Philosophy. 3) to evaluate a model of Spatial Data Management according to the new theory of Sufficiency Economy Philosophy, divided  to 3 steps : Step1 to study needs to develop a model of Spatial Data Management according to the new theory of Sufficiency Economy Philosophy. According to PAOR Process (Kemmis & Taggart) step (1) Planning: samples (20 persons) classified as (1) Community Leader (10) (2) Experts from IT Faculty (10)  step (2) Action: samples (80 persons) classified as (1) Community Leader (10) (2) Community members (40) (3) Experts from IT Faculty (10) (4) students (40)  step (3) Observation: samples (80 persons) classified as step(2) and  step (4) Reflection: samples (40 persons) classified as (1) Community Leader (10) (2) Community members (10) (3) Experts from IT Faculty (10) (4) Authorities for Academic Services  (10). Step2 to develop a model of Spatial Data Management according to the new theory of Sufficiency Economy Philosophy, area used for 800 square meters. Step3 to evaluate a model of Spatial Data Management according to the new theory of Sufficiency Economy Philosophy being 7 experts from Faculty of IT, Faculty of Agriculture Technology and Faculty of Education. The research instruments being (1) form of unstructured interview, (2) a handbook of Spatial Data Management as a model of opened and closed system and (3) evaluation forms of a model of Spatial Data Management according to the new theory of Sufficiency Economy Philosophy. The research statistics used as Mean ( ), Standard Deviation (S.D.)
         The Research findings were: 1) The needs to develop a model of Spatial comprised of 4 steps: (1) planning: have to be relevant to community needs. (2) action: knowledge sharing among activity participants. (3) observation: having activities among community leaders and activity participants. And (4) reflection: having to reflect as a real problems, problem-solving, reflecting a new problem and the needs of plantation system management in Sufficiency Economy area. 2 The development of a model of Spatial Data Management according to the new theory of Sufficiency Economy Philosophy comprised of 2 models being (1) a model of opened system (Internet of Things) (IoT) (2) a model of closed system (Automatic System).  3) The evaluation results of a model of Spatial Data Management according to the new theory of Sufficiency Economy Philosophy by overall being at the most. (  = 4.58, S.D. = 0.50).

    Download Full Paper:
    รูปแบบการจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ กรณีศึกษา ชุมชนบ้านหนองข่า ตำบลประชาพัฒนา อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม