Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
The Development of a Teacher Training Curriculum on Multigrade Classroom Learning Management in Small-sized Schools under Sakon Nakhon Educational Service Area Office 1

[เปิดดู 290 ครั้ง]

เกียรติภูมิ มะแสงสม , วัลนิกา ฉลากบาง และ ทิวา แจ้งสุข

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ในด้านความรู้ ทักษะการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นและความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตร การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ 6 ขั้น ดังนี้ ระยะที่ 1  การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม มี 4 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 วิเคราะห์ความต้องการในการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นของครู โดยศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสำรวจความต้องการด้านการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น ประชากรเป็นครู  ในโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 60 โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 283 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นครูในโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 166 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย ขั้นที่ 2 กำหนดวัตถุประสงค์ของหลักสูตรฝึกอบรม ขั้นที่ 3 เลือกและรวบรวมเนื้อหาของหลักสูตรฝึกอบรม และขั้นที่ 4 สร้างหลักสูตรฝึกอบรม นำหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ตรวจสอบความเหมาะสมและความสอดคล้อง ระยะที่ 2 การประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น มี 2 ขั้น คือ ขั้นที่ 5 ทดลองใช้หลักสูตร ประชากรเป็นครูในศูนย์พัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก 8 ศูนย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 283 คน  กลุ่มตัวอย่างเป็นครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ในโรงเรียนขนาดเล็ก ปีการศึกษา 2560 ใน 1 ศูนย์พัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 36 คน สุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (cluster random sampling)  เครื่องมือรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ แบบประเมินทักษะและแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบที ขั้นที่ 6 ประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตร
           ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรฝึกอบรมครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นในโรงเรียนขนาดเล็กที่พัฒนาขึ้น มี 5 องค์ประกอบ คือ (1) ความเป็นมา หลักการและความสำคัญ (2) วัตถุประสงค์ (3) เนื้อหาของหลักสูตร (4) กิจกรรมการฝึกอบรม และ (5) การวัดและประเมินผล จากการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน พบว่าหลักสูตรที่มีความเหมาะสมในระดับมาก  (= 4.30, S.D. = 0.24) และมีค่าความสอดคล้องระหว่างส่วนประกอบต่างๆในหลักสูตรระหว่าง 0.80-1.00 2) ผลการศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมพบว่า 2.1) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนเข้ารับการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  2.2) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีทักษะการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นในระดับมาก 2.3) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมในระดับมาก

  • Abstract
  •      The objectives of this study were to develop and study the efficiency of the developed training curriculum for multigrade instructional management in small-sized schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 in knowledge, multigrade instructional management skill and satisfaction towards the developed training curriculum. The study was divided into 2 phases 6 steps. The first phase was the training curriculum development which was conducted in 4 steps namely 1) step 1: analyzing the training needs by studying relevant documents, concepts, theories, researches and surveying the needs for multigrade instructional management in small-sized schools. Population used in the study were 283 teachers in small-sized school under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 in academic year B.E. 2560 (2017). The sample was 166 teachers in small-sized school selected with sample random sampling; 2) step 2: defining the curriculum objects; 3) step 3:  selecting and collecting the curriculum contents and 4) step 4: building the training curriculum and check appropriateness and congruence between its contents by 5 professionals. The second phase was the assessment of the developed training curriculum which was conducted in 2 steps namely 5) step 5 implementing the developed training curriculum. Population used were 283 teachers in small-sized school under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 in academic year B.E. 2560 (2017). The training curriculum was experimented with 36 small-sized school teachers under Sakon Nakhon Primary Education Service Area Office 1 in academic year B.E. 2560 (2017), selected with cluster random sampling by selecting 1 small-sized schools quality development center from 8 centers. Instruments used to collect data were knowledge test, skill evaluation form and satisfaction survey form. Statistics in data analysis were percentage, mean, standard deviation (S.D.) and t-test for dependent samples. And 6) step 6 Evaluating and improving the developed training curriculum.

         The study yielded the following results. 1) The developed teacher training curriculum for multigrade instructional management in small-sized schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1. It comprises 5 components namely (1) background, principles and significance; (2) objectives; (3) contents; (4) training activities and (5) measurement and evaluation. The appropriateness of the developed training curriculum by 5 professionals is at a high level (= 4.30, S.D. = 0.24), the congruence between its components is between 0.80 – 1.00. 2) The results of the efficiency of the developed training curriculum are: 2.1) Participating teachers have higher knowledge and understanding on multigrade instructional management after training than before training with the .01 level of statistical significance. 2.2) Participating teachers have multigrade instructional management skill in small-sized schools at a high level. 2.3) The satisfaction of participating teachers towards the developed training curriculum is at a high level.

    Download Full Paper:
    การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1