Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง อาหารและสารอาหาร ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ ปัญหาเป็นฐาน กับแบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นตอน

[เปิดดู 219 ครั้ง]

นภัสสร ชะปูแสน, ทัศนา ประสานตรี และ มนตรี อนันตรักษ์

  • บทคัดย่อ
  •               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อาหารและสารอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กับกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นตอน 2) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง อาหารและสารอาหาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กับกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นตอน 3) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องอาหารและสารอาหาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 69 คน จาก 2 ห้อง ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 จำนวน 35 คน จัดการเรียนรู้ใช้ปัญหาเป็นฐาน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 จำนวน 34 คน จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และ แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นตอน วิธีละ 7 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน40 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ 0.55 ถึง 0.73 ค่าอำนาจจำแนก 0.22 ถึง 0.61 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 แบบทดสอบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ 0.43 ถึง 0.74 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.83 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t-test (Independent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่เรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นตอน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความคงทนในการเรียนรู้ด้วยการเรียนทั้ง 2 รูปแบบ
     

    คำสำคัญ : การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน / การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นตอน / ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน / ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน

  • Abstract
  •                The purposes of this study were 1) to compare achievements of learning on nutrition and substances in food of Mathayom Suksa 2 students through problem-based learning activity management versus 7-E inquiry, 2) to compare their scientific process skills on nutrition and substances in food through problem-based learning activity management versus 7-inquiry, and 3) to investigate their science learning retention on nutrition and substances in food among those Mathayom Susa 2 students who were managed by a different way of learning activity management. The samples used comprised 2 groups of a total of 69 Mathayom 2 students who were selected by cluster random sampling. The 35 Mathayom Suksa 2 students learning in room 2 were managed with the problem-based activity, while the remaining 34 students learning in room 4 were managed with the 7-E inquiry. The instruments used were: 7 problem-based learning management plans and 7 plans in using the 7-E inquiry technique, a 40-item objective test of learning achievement with 4 choices, whose difficulty values ranged between 0.55 and 0.73, discrimination power values between 0.22 and 0.61, and reliability coefficient was 0.90, and a 40-item objective test of scientific process skill with 4 choices, whose difficulty values ranged between 0.43 and 0.74, discrimination power values between 0.20 and 0.83, and reliability value was 0.92. Statistics used were percentage, mean, standard deviation, and t-test (independent samples) for hypothesis testing. The findings revealed as follows: 1) Students who learned through the 7-E inquiry had significantly higher learning achievement and scientific process skill than those who learned through the problem-based learning activity management at the .01 level. The Mathayom Suksa 2 students had retention of learning through both types of learning management.
     

    Keywords : Problem-based Learning (PBL) Management / 7-E Inquiry Learning Management/ Learning Achievement / Basic Scientific Process Skills

    Download Full Paper:
    การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง อาหารและสารอาหาร ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ ปัญหาเป็นฐาน กับแบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นตอน