Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของสมรรถนะครูที่ส่งผลต่อ คุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
The Linear Structural Equation Model of Teacher Competencies Affecting Quality of Students in the 21st Century In the Northeastern Region of Thailand

[เปิดดู 271 ครั้ง]

นเรศ ปู่บุตรชา วัลนิกา ฉลากบาง วาโร เพ็งสวัสดิ์ และ พรเทพ เสถียรนพเก้า

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น และ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของสมรรถนะครูที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน และการศึกษาโรงเรียนดีเด่น จำนวน 3 แห่ง และระยะที่ 2 การตรวจสอบสมมติฐานการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.27-0.79 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 กลุ่มตัวอย่าง เป็น ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 600 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และใช้โปรแกรมลิสเรล (LISREL) วิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้าง   เชิงเส้น  
       ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของสมรรถนะครูที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษ   ที่ 21 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 5 สมรรถนะ คือ สมรรถนะส่วนบุคคล สมรรถนะด้านภาวะผู้นำ สมรรถนะด้านคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ สมรรถนะด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน และสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ 2) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติ ดังนี้ = 100.47, P-value = 0.97030       df = 129,  /df = 0.7788, RMSEA = 0.000, GFI = 0.99, AGFI = 0.97, CN = 999.16, CFI = 1.00 RMR = 0.0058          เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ (R2) ของสมรรถนะทั้ง 5 สมรรถนะ พบว่า สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ได้ร้อยละ 79

  • Abstract
  •       The objectives of this study were 1) to develop a linear structural equation model and 2) to examine the congruence between the developed linear structural equation model of teacher competencies affecting quality of students in the 21st century in the Northeastern region of Thailand and the empirical data. There were 2 phases in this study. The research conceptual framework was built in the first phase by conducting an analysis of relevant documents and researches, an interview with 7 experts and a studying on three outstanding schools. Consequently, research hypothesis verification was carried out in the second phase by using the data collected from a 5-level rating scale questionnaire with discrimination power between 0.27 – 0.79 and overall reliability value at 0.98. A sample selected by multi-stage random sampling. Samples were 600 school directors and teachers under Secondary Education Service Area Offices in the Northeastern region of Thailand in the academic year B.E. 2560. Data analysis was conducted by determining frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson’s product moment correlation coefficient. LISREL software was employed to analyze the linear structural equation model.

                The findings are as follows. 1) The developed linear structural equation model of teacher competencies affecting quality of students in the 21st century in the Northeastern region of Thailand comprises 5 competencies, which are personal competency, leadership competency, moral and ethical competency, classroom management competency and learning management competency. 2) The developed model shows congruence with the empirical data with statistic as follows:  = 100.47, P-value = 0.97030, df = 129,  /df = 0.7788, RMSEA = 0.000, GFI = 0.99, AGFI = 0.97, CN = 999.16, CFI = 1.00, RMR = 0.0058 When considering the coefficient of prediction (R2) of the 5 aforementioned competencies, it is found that they could altogether explain 79 percent of the variance of quality of students in the 21st century.

    Download Full Paper: