Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะทางวัฒนธรรมของบุคลากรโรงเรียนชายแดน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
The Development of Cultural Competence Indicators of Personnel In the Northeast Border School

[เปิดดู 196 ครั้ง]

เฟื่องฟ้า กัญญาบัตร ดาวรุวรรณ ถวิลการ และ วัลลภา อารีรัตน์

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเหมาะสมของตัวบ่งชี้สมรรถนะทางวัฒนธรรมของบุคลากรโรงเรียนชายแดนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อคัดสรรไว้ในโมเดล 2) ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นตัวบ่งชี้สมรรถนะทางวัฒนธรรมของบุคลากรโรงเรียนชายแดนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับข้อมูลเชิงประจักษ์
    กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนชายแดนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 320 คน ใช้เกณฑ์อัตราส่วนระหว่างหน่วยตัวอย่างกับจำนวนพารามิเตอร์ 10 : 1 แล้วทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ มีความตรงเชิงเนื้อหา มีค่าอยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00 และค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ (Mplus
       ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวบ่งชี้สมรรถนะทางวัฒนธรรมของบุคลากรโรงเรียนชายแดนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทุกตัวเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด มีความเหมาะสมทุกตัวบ่งชี้ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับหรือสูงกว่า 3.00 และมีค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับหรือต่ำกว่าร้อยละ 20 2) โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นตัวบ่งชี้สมรรถนะทางวัฒนธรรมของบุคลากรโรงเรียนชายแดนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจาก
    c2 = 46.37, df = 36, P-Value = 0.12, RMSEA = 0.03, SRMR = 0.03, CFI = 0.99, TLI = 0.99 มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.57 – 0.99 เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ความรู้ทางวัฒนธรรม ความตระหนักทางวัฒนธรรม ทักษะทางวัฒนธรรม และปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม ค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.99, 0.85, 0.73 และ 0.57 ตามลำดับ

  • Abstract
  •     The purposes of this research were to 1) study the appropriateness of cultural competence indicators of border school personnel in the Northeast for selecting in model of conflict management indicators as specified criterion, 2) test the congruence of developed model, and empirical data as specified criterion. The sampling included school administrators and teachers for this research was 320 persons of border school in the Northeast. By using ratio criteria was 10:1 between sample units with number of parameters with Multi-stage Sampling. Data were collected by using the 5 Level Rating Scale with reliability coefficient 0.97 and the index of item objective congruence was between 0.60 – 1.00. Data were analyzed by statistical program and M-Plus Program.
        The research findings were as follows: 1) cultural competence indicators of border school personnel in the Northeast, the average value for selecting in the model of cultural competence of the personnel in Northeast border schools, as being appropriate as specified criterion: the average value was equal to or more than 3.00. 2) The developed the causal model of cultural competence indicators of border school personnel in the Northeast, consisted of congruence with empirical data, the Chi-square (χ2) = 46.37, and Degree of Freedom (df) = 36 P-value = 0.12, CFI = 0.99, TLI = 0.99, SRMR= 0.03 and RMSEA = 0.03. Ranging from the highest factor loading value to the lowest, they were from 0.57 to 0.99 respectively: cultural knowledge, cultural awareness, cultural skill and cultural encounter which the factors were 0.99, 0.85, 0.73 and 0.57 respectively.

    Download Full Paper: