Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร
Participative Managementof School AdministratorsAffectingthe Effectivenessof Schoolsin Mukdahan Primary Educational Service Area Office

[เปิดดู 214 ครั้ง]

กนกวรรณ รองเมือง และ สมใจ ภูมิพันธุ์

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาประสิทธิผลของโรงเรียน และ 3) สร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหารกลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้บริหารและครู จำนวน 347 คน จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน 35 คน ครู 312 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการคำนวณด้วยสูตรของยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ระหว่าง 0.80 ถึง1.00 ในตอนที่ 2 และ ตอนที่ 3 มีค่าความเชื่อมั่น ตามวิธีการของครอนบาค เท่ากับ 0.96 และเท่ากับ 0.95 ตามลำดับ จากการทดลองใช้ (Try Out) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
        ผลการวิจัย พบว่า 1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 2. ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก และ 3. การบริหารแบบมีส่วนร่วม ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านความผูกพัน และด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษามุกดาหารได้ร้อยละ 30.4 โดยเขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้

    สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ         Y = 2.058 + .248X1 + .167X5 + .077X3

    สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Zy = .325Zx1 +.298Zx5 +.118Zx3

  • Abstract
  •    The purposes of this research were:1) to study the participatory management levels of school administrators. 2) to study theschool effectiveness levels. And 3) to construct a predictive equation of school effectiveness in Mukdahan Primary Educational Service Area Office. The sample size for this study was calculated using Taro Yamane’s formula. The 347 subjects consisted of 35 administrators and 312 teachers. The instrument employed for collecting the data was a 5-point rating scale questionnaire. Questionnaire was Index of Item Objective Congruence 0.80 – 1.00 in part2-3 have reliability of Cronbach’s method was 0.96 and 0.95, respectively from try out. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation and stepwise multiple regression.
       Results of the study were as follows: 1) The participatory management of school administrators in Mukdahan Primary Educational Service Area Office was at a high level, for the overall and in each aspect. 2) The Effectiveness of School in Mukdahan Primary Educational Service Area Office was at a high level, for the overall and in each aspect. And 3) The participatory management in decision making (X1), commitment (X5),  and work motivation (X3), could mutually predict school effectiveness (Y) for 30.4 percent. The predictive regression equations were as follows:

    Raw score regression equation   Y 2058 4X17X577X3

    Standard score regression equation:  Zy = .325Zx1 +.298Zx5 +.118Zx3

    Download Full Paper: