Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การยกระดับตลาดท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดสิงห์บุรีโดยชุมชน
Enhancing for Cultural Tourism Marketing in Singburi Province by Community-Based

[เปิดดู 265 ครั้ง]

ศรัณพร ชวนเกริกกุล

  • บทคัดย่อ
  •    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ค้นหาอัตลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดสิงห์บุรี 2)ศึกษาปัจจัยการตลาดที่มีผลต่อการดำเนินงานด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดสิงห์บุรี และ 3)เสนอแนวทางการยกระดับตลาดท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดสิงห์บุรีโดยชุมชน งานวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายคือผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวจังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 23 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย หน่วยงานของภาครัฐ จำนวน 7 คน หน่วยงานของภาคเอกชนหรือผู้ประกอบการ จำนวน 8 คน ประชาชนในท้องถิ่น จำนวน 8 คน และนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 20 คน ใช้วิธีเลือกกลุ่มเป้าหมายตามสะดวก  เก็บข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก การหาคุณภาพเครื่องมือโดยใช้การวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 คน มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ที่ 1.00 ในทุกองค์ประกอบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและใช้การพรรณนาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
        ผลการศึกษาพบว่า 1) จังหวัดสิงห์บุรีเป็นจังหวัดที่มีความโดดเด่นทางด้านวัฒนธรรม เป็นจังหวัดที่มีทุนวัฒนธรรมอยู่มาก สามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาท่องเที่ยวได้ อันจะนำมาซึ่งคุณค่าและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี 2) ปัจจัยการตลาดที่มีผลต่อการดำเนินงานด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดสิงห์บุรีประกอบด้วยส่วนประสมทางการตลาด 7 ด้าน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การสื่อสารการตลาด บุคลากร กระบวนการให้บริการ และลักษณะทางกายภาพ 3) แนวทางการยกระดับการตลาดท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดสิงห์บุรีโดยชุมชนนั้น ชุมชนเห็นว่าควรมีการส่งเสริมและฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น พัฒนาป้ายบอกทางให้มีความชัดเจน ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์การแจ้งข่าวสารข้อมูลเรื่องกิจกรรมท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นรณรงการท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น อาทิ การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ เพิ่มพูนศักยภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยวด้วยการจัดอบรมทักษะความรู้และประวัติศาสตร์ของสถานที่ท่องเที่ยวในแต่ละแห่ง เพื่อบอกเล่าเรื่องราวความน่าสนใจให้นักท่องเที่ยวได้รับรู้อย่างถูกต้อง จัดตั้งจุดบริการข้อมูลนักท่องเที่ยวเพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ปรับปรุงภูมิทัศน์ของสถานที่ท่องเที่ยวให้มีความสะอาดและสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของพื้นที่

  • Abstract
  •    The purpose of this research is 1) to identify the tourism identities in Singburi Province. 2) to study the tourism marketing operation in Singburi Province, and 3) to guidelines of the Enhancing for cultural tourism marketing in Singburi Province by Community-based. This research uses qualitative methods with key informants 23 people who related with tourism in Singburi Province.  Select respondents will use the purposive sampling method. The target respondents will be 7 state agency personnel, 8 private institute personnel or entrepreneurs, 8 local residents. And 20 Thai tourists who visited Singburi were selected as the samples of the convenience sampling. Using with data collecting by in-depth interview. The instrument quality was found by an analysis of content validity from 3 experts and the correspondence index value was 1.00 in all factors. The instrument used for collecting data was semi structure in-depth interview. This study uses a descriptive technique to analyze the data.
        The study shows that 1) Singburi Province is the province that owns outstanding cultures. It possesses lots of cultural capitals which is able to be developed into having cultural attractions appealed to the tourists and generated the Economic Value-Added (EVA) to the province. 2) The important issue was found from the studied that the operation of marketing for tourism in Singburi Province which was consists of Product, Price, Place, Promotion, People, Process and Physical evidence. 3)The improvement approach of enhancing for cultural tourism marketing in Singburi Province by Community revealed that the provincial administrators should promote and restore the cultural tourism for outstanding identity, to develop an obvious guidepost, promote local tourism activities consecutively, for example through on-line media, increase the tourism officer capabilities about knowledge and history of the tourist attraction to better relate to the tourists correctly, impose the Information Service point at the main tourist attraction, and improve the landscape of the tourist attraction to be clean and conform to the local identity.

    Download Full Paper: