Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

ปรีชาญาณของคนพากย์โขน
Intuition of Khon Voice-Over Narrators

[เปิดดู 116 ครั้ง]

เกษนิภา นิลบาลัน และ บุญสม ยอดมาลี

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้และปรีชาญาณในการพากย์-เจรจาโขน ของคนพากย์โขน พระราชทาน วิธีดำเนินการวิจัย ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยทุกประเภท การสำรวจ การสังเกต การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มย่อย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย เลือกแบบเจาะจงแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มผู้รู้ /ผู้เชี่ยวชาญด้านการแสดงโขน การพากย์ เจรจาโขน จำนวน 6 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ จำนวน 5 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป จำนวน 15 คน แล้วนำเสนอผลการวิจัยโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์
       ผลการวิจัยพบว่า องค์ความรู้และปรีชาญาณของคนพากย์ เจรจาโขน ที่พากย์โขนพระราชทาน ทั้ง 5 คน ประกอบด้วย ครูธีรภัทร์ ทองนิ่ม ครูสุธีร์ ชุ่มชื่น ครูเชาวนาท เพ็งสุข ครูดำรงศักดิ์ นาฏประเสริฐ และครูสมพร เที่ยงแช่มที่พัฒนาจาก คนพากย์โขนที่เคลื่อนไหว ถ่ายทอด สืบต่อมาจากบรมครูพากย์–เจรจาโขนในอดีต ตั้งแต่มีการแสดงโขน ยุคเริ่มแรก ในสมัยสุโขทัย ซึ่งในช่วงแรกยังไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในตำนานโขนหลวงและพัฒนามาเรื่อยจนถึงปัจจุบันมีการแสดงโขนพระราชทานขึ้น คนพากย์โขนทั้ง 5 คนซึ่งได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ให้เป็นคนพากย์–เจรจาโขนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การสังเคราะห์องค์ความรู้และปรีชาญาณของคนพากย์โขนพระราชทาน 5 คน พบว่า ปรีชาญาณของคนพากย์โขนทั้ง 5 คน มีองค์ประกอบคือ 1) เป็นผู้ที่มีปฏิภาณไหวพริบคือสามารถพากย์-เจรจาโขนโดยด้นสดไม่ต้องอ่านจากบท 2) มีกลเม็ดเคล็ดลับเฉพาะตัวในด้านการพากย์ เจรจาที่แตกต่างกัน 3) มีความเชี่ยวชาญและความสามารถชั้นบรมครู 4) มีลีลากับการใช้บทบาทในการพากย์–เจรจาโขน ลีลาของท่วงทำนอง ความไพเราะตามบทบาทและอารมณ์ของตัวละคร 5) มีเทคนิคพิเศษในการพากย์-เจรจาโขน ซึ่งแต่ละคนจะมีกลวิธีแตกต่างกันออกไป ปรีชาญาณของคนพากย์และเจรจาโขนเกิดจากการสั่งสม ถ่ายทอด และฝึกฝน สืบต่อกันมา จนเกิดเป็นความสามารถและเอกลักษณ์เฉพาะตัว

  • Abstract
  •      This research aims to study the body of knowledge and intuition in Khon voice over narrators   towards the narration of the Royal Khon Performance. Research methodology consists of studying relevant research, exploration, observation and focus group discussion.  The target people used in study were divided into 3 groups, comprising 6 experts in Khon voice over narration, 5 practitioners and 15 general informants.  The research results were presented by descriptive analysis method. 
        The research results found that the body of knowledge and intuition of 5 Khon voice over narrators in the Royal Khon performance included Kru Theeraphat Thongnim, Kru Suthee Choomcheun, Kru Chaowanart Pengsuk, Kru Damrongsak Natprasert, and Kru Somporn Tiengcham. As such, the 5 Khon voice-over narrators have been developing themselves from the pattern of movement of Khon voice-over narrators. Significantly, the body of Khon knowledge has been inherited and transferred by the great teacher of Khon voice over narration in the previous period of time, since Khon performance was performed in the Ayutthaya period. Initially, there was no inscription on Khon voice-over performance. Later, in the reign of King Vajiravudh (Rama VI) of Rattanakosin period, the Khon voice-over performance was scripted through the legend of royal Khon and has been developing from that period of time until present. Currently, the Royal Khon performance has been arranged and presented to the public. The 5 khon voice-over narrators received the royal trust from Her Majesty Queen Sirikit of King Rama IX for allowing the 5 Khon voice-over narrators to take part in the Royal Khon performance since then.  The synthesis of body of knowledge and intuition of 5 Khon voice-over narrators in the Royal Khon performance found that the intuition of 5 Khon voice-over narrators has 5 following elements: 1. The actor must have a comprehensive wisdom, namely he is able to perform Khon voice over narration;  2. he  must have individual techniques in Khon voice over narration differently; 3, he must have self-specific expertise and ability as a great teacher; 4. he must have self’s individual style in Khon voice over narration of melody, and fluency related to the role and feeling of actors;  and 5. he must have special technique in Khon voice over narration, which every single actor has a different way of technique and expression in Khon voice over performance. Therefore, the intuition of Khon voice-over narrators has been derived from accumulating, transferring, practical knowledge and the knowledge has been inherited from generation to generation until it becomes self-talented.

    Download Full Paper: